Table of Contents
Table of Contents

Yield Farming : ในโลก Crytocurrency ก็เป็นชาวนาได้

Yield Farming

หากจะพูดถึงการเป็นชาวนาเราก็นึกถึงการที่เราอยู่ทุ่งนา ปลูกข้าว ดำนา ไถนา เป็นการลงทุนเพื่อเราจะได้ผลผลิต อย่างสุภาษิตไทยที่ว่า หว่านพืชหวังผล แต่การเป็นชาวนาไม่ได้มีเพียงแค่ที่ทุ่งนาเท่านั้น เราสามารถเป็นชาวนาในโลกของ Cryptocurrency ได้เช่นกัน โดยจะเรียกว่า “Yield Farming“

Yield Farmingเป็นการทำให้เรามีผลตอบแทนบนแพลตฟอร์ม DeFi ต่าง ๆ โดยที่เราจะนำเหรียญสกุลเงินต่าง ๆ ที่เรามีในครอบครองไปลงทุนบนฟาร์มที่เปิดในแพลตฟอร์มนั้น ๆ เพื่อเป็นการลงทุนให้แพลตฟอร์ม DeFi นั้นสามารถเติบโตได้ตามเป้าหมายที่วางแผนไว้ได้ใน Roadmap และแพลตฟอร์มเหล่านั้นก็จะคืนเรามาเป็นผลตอบแทนที่เรียกว่า APY

DeFi ย่อมาจากคำว่า Decentralized Finance หรือระบบการเงินที่ไม่มีอำนาจตัวกลาง กระจายอำนาจทางการเงินให้กับทุกคนที่สามารถเข้าถึงระบบได้ ซึ่งเกิดขึ้นจากการใช้เทคโนโลยีแบบ blockchain ทำงานร่วมกันกับ Smart Contract ระบบสัญญาอัจฉริยะ ซึ่งไม่จำเป็นต้องทำธุรกรรมผ่านธนาคารที่เป็นตัวกลางอีกต่อไป แค่มีอินเทอร์เนตก็สามารถถึงการใช้งาน DeFi ได้

สาเหตุที่เกิดการทำYield Farmingขึ้นมา เนื่องจากทางผู้พัฒนาแพลตฟอร์ม DeFi ต้องนำเงินเข้าไปหมุนเวียนในระบบ DeFi ที่ตัวเองสร้างขึ้น ให้มีสภาพคล่อง นำไปใช้พัฒนาระบบ หรือเป็นสิ่งที่ดึงดูดใจให้กับนักลงทุน มาสนใจในแพลตฟอร์ม DeFi ของตนเอง

แพลตฟอร์มที่เปิดให้ทำ Yield Farming

1. Uniswap

Yield Farming

เป็นแพลตฟอร์มที่เป็นที่นิยม และเปิดมานานที่สุดในโลกของ Defi อาจเรียกได้ว่ามีความเสี่ยงน้อยที่สุดก็ว่าได้ เพราะในขณะที่แพลตฟอร์มอื่น ๆ นั้นทำการแจก Governance token ที่มีมูลค่าขึ้นลง แต่ Uniswap นั้นจ่ายเป็นค่าธรรมเนียมที่ผู้ใช้งานใช้เท่านั้น โดย Uniswap นั้นเป็น Dex ที่คิดค่าธรรมเนียม 0.3% และนำค่าธรรมเนียมนั้นมาจ่ายให้กับผู้ใช้งานที่ฝากสภาพคล่องแก่ Uniswap

  • ผลตอบแทน APY (ค่าธรรมเนียม)
  • Stablecoin Pair : 10 – 30%
  • Eth/Stablecoin : 20 – 70%

2. Balancer

Yield Farming

เป็น Dex ที่เป็นรูปแบบของกองทุนในรูปแบบหนึ่ง มันมีความแตกต่างจาก Uniswap ตรงที่เราสามารถกำหนดสัดส่วนของคู่เหรียญได้เช่น 95:5 ในขณะที่ Uniswap กำหนดไว้ที่ 50:50 และยังสามารถกำหนดค่า Fee เองได้อีกด้วย Balancer นั้นจะแจกทั้งค่าธรรมเนียมและ Governance Token อย่าง Bal อย่างไรก็ตามเนื่องจาก Smart Contract ที่ซับซ้อนนั้นทำให้ Balancer นั้นมีคนใช้งานน้อยกว่า Uniswap จากการที่ค่าธรรมเนียมนั้นแพงกว่า แต่โดยรวมแล้วให้ผลตอบแทนที่มากกว่า Uniswap แต่มีความเสี่ยงของมูลค่า Balancer

  • ผลตอบแทน APY (คิดจาก Bal ไม่รวมค่าธรรมเนียม)
  • Stablecoin Pair : 10 – 30%
  • Eth/Stablecoin : 50 – 100%

3. Sushi Swap

Yield Farming

เป็นแพลตฟอร์มใหม่ที่ลอกเลียนแบบ Uniswap แต่สิ่งที่แตกต่างคือการที่ Sushi swap นั้นทำการแจกเหรียญ Governance ด้วย โดยในปัจจุบันการทำ Yield farming บน Sushi Swap นั้นให้ผลตอบแทนที่ดีมาก โดยผู้ใช้งานต้องเอาเหรียญ LP ในคู่ของ Sushiswap มาฝากบน Sushiswap

  • ผลตอบแทน APY (Sushi Token)
  • Stablecoin/Eth : 300 – 700%
  • Sushi/Eth : 1000 – 1500%


การทำ Yield Farming ถือว่าให้ผลตอบแทนที่สูงมากๆ ถ้าเทียบกับการฝากเงินไว้ธนาคาร แต่ก็มีความเสี่ยงมากเช่นกัน จากมูลค่าของเหรียญที่ขึ้นลงในทุก ๆ วัน ซึ่งถ้าเหรียญราคาลงจากตอนที่เราเอาเหรียญไปทำฟาร์ม บางทีอาจจะไม่คุ้มก็ได้ แต่ในทางกลับกันถ้าเหรียญราคาขึ้นเราก็จะได้ทั้งค่าธรรมเนียมทั้งมูลค่าเหรียญที่มาขึ้นด้วยเช่นกัน ฉนั้นสำหรับใครที่กำลังสนใจในการทำYield Farmingควรศึกษาข้อมูลให้รอบด้านก่อนทำการลงทุน

———————————————————————————————————————————————————————————————

อ่านบทความเพิ่มเติม: GoTradeHere

Table of Contents
TOP FOREX BROKERS
1
5/5
IUX
5/5
2
3/5
IC Markets
IC Markets-top-forex-brokers
IC Markets
4/5
3
4/5
FXGT.com
FXGT.com
4/5
4
3/5
Hantec Markets
Hantec Markets
3/5
5
4/5
Eightcap
Eightcap
3/5

การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

– Advertisement –

การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

FOLLOW US
บทความที่เกี่ยวข้อง

– Advertisement –