หลายคนคงเคยลงทุนในหุ้น, กองทุน หรือพันธบัตร รวมถึงการฝากเงิน และเมื่อเข้ามาในตลาดคริปโต คงเคยได้ยินกันมาบ้างว่า Bitcoin เกิดขึ้นมาจากความไม่พอใจต่อธนาคาร แต่อีกด้านหนึ่งก็ยังมีเงินดิจิทัลที่เกิดขึ้นจากธนาคารเช่นกัน ซึ่งก็คือ เหรียญ Ripple (XRP) นั่นเอง
XRP เป็นเหรียญคริปโตประเภทหนึ่ง ที่ถูกสร้างขึ้นมาโดย Ripple Labs ผู้ก่อตั้งคือ Jed McCaleb ซึ่งจุดประสงค์ของ XRP คือ เพื่อใช้ลดปัญหาตัวกลางในการทำธุรกรรมการเงินระหว่างประเทศ เพิ่มความรวดเร็วในการทำธุรกรรมและลดปัญหาค่าธรรมเนียมที่สูง
แต่หลายคนมักมีความเข้าใจผิดระหว่าง XRP และ Ripple เช่น เมื่อมีข่าวว่าธนาคารไทยพานิชย์ใช้ Ripple ก็คือการใช้งานเหรียญ XRP แต่ที่จริงแล้ว ไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆกับตัวเหรียญเลย โดยบริษัทริปเปิ้ล ที่ออกข่าว หมายถึง ธนาคารใช้ xCurrent ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งของริปเปิ้ลที่เป็น InterLedger ในขณะที่เหรียญ XRP นั้นคือ Xrapid นั่นเอง
โดยในการแลกเปลี่ยนเงินระหว่างประเทศนั้น XRP จะเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยน จากที่เคยใช้เวลานานเป็นวัน แต่ XRP ใช้เวลาในการทำธุรกรรมระหว่างประเทศเพียงแค่ไม่กี่วินาที และยังรองรับการประมวลผลธุรกรรมได้มากถึง 1,500 ธุรกรรมพร้อมกันได้ อีกทั้ง ยังมีค่าธรรมเนียมที่ถูกมากอีกด้วย
และ XRP ไม่สามารถ “ขุด” ได้ เนื่องจาก ระบบของเหรียญ XRP ถือเป็นระบบที่ค่อนข้างมีความเป็น Centralized และเป็น Private Blockchain ทำให้ไม่มีใครสามารถมาทำการขุดหรือร่วมกันเป็นผู้ยืนยันการทำธุรกรรมได้ มีเพียงธนาคารหรือหน่วยงานที่จำกัดไว้เท่านั้นจึงจะสามารถทำได้
XRP ถูกสร้างขึ้นมาอย่างจำกัด โดยมีอยู่ทั้งหมด 100,000 ล้านเหรียญ และไม่สามารถสร้างเพิ่มได้ และกว่า 80% ของเหรียญ XRP จะอยู่ที่บริษัทริปเปิ้ล โดยทางบริษัทจะทยอยปล่อยออกสู่ตลาดเพื่อเป็นการรักษาสมดุลทางการตลาดของเหรียญไว้ ซึ่งมีหลักการหลายคลึงกับ Bitcoin แต่ XRP จะเน้นใช้ในการทำธุรกรรมการเงินระหว่างประเทศมากกว่า
———————————————————————————————————————————————————————————————
อ่านบทความเพิ่มเติม: GoTradeHere