Table of Contents
Table of Contents

หุ้นกู้ คือ อะไร? (Corporate Bond) สินทรัพย์ความเสี่ยงต่ำ และน่าลงทุนระยะยาว

หุ้นกู้ คือ

ปัจจุบันโลกกำลังเผชิญกับภาวะเงินเฟ้อ ทำให้ธนาคารกลางต่าง ๆ ต้องปรับอัตราดอกเบี้ยเป็นขาขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อสินทรัพย์เสี่ยงค่อนข้างมาก แต่สินทรัพย์ที่เรากำลังจะกล่าวถึงนั้นได้รับอนิสงค์จากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยโดยตรง อีกทั้งยังเป็นสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ เน้นเพียงแค่ถือให้ครบกำหนดสัญญา เหมาะมากสำหรับนักลงทุนมือใหม่ และนักลงทุนระยะยาว ซึ่งสินทรัพย์นั่นคือ “หุ้นกู้”

ในบทความนี้ เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับ หุ้นกู้ คือ อะไร? ประเภทของหุ้นกู้ ประโยชน์ที่คุณจะได้รับจากการลงทุนสินทรัพย์นี้ และความเสี่ยงของหุ้นกู้ พร้อมสิ่งต่าง ๆ ที่คุณควรจะรู้ก่อนลงทุนหุ้นกู้ เรียกได้ว่า ครบ จบ ในที่เดียว

  • หุ้นกู้ คือ อะไร?
  • ระยะเวลาการจ่ายดอกเบี้ย และอายุของหุ้นกู้ คือ อะไร?
  • ประเภทของ “หุ้นกู้”
  • การจัดอันดับเครดิตของหุ้นกู้ (Credit Rating)
  • สิ่งที่ควรรู้ก่อนลงทุน “หุ้นกู้”
  • ข้อดีของ “หุ้นกู้”
  • ความเสี่ยงของการลงทุน “หุ้นกู้”

———————————— 🐣 ————————————

หุ้นกู้ คือ อะไร?

หุ้นกู้ (Corporate Bond) คือ ตราสารหนี้ที่ออกโดยภาคเอกชน เพื่อจะระดมทุนไปใช้ในกิจการต่าง ๆ ตามแผนของทางบริษัท โดยผู้ที่ซื้อหุ้นกู้จะถือว่าอยู่ในสถานะของเจ้าหนี้ของกิจการที่เราได้ซื้อหุ้นกู้ไว้ โดยลักษณะของหุ้นกู้ คือ ผู้ออกหุ้นกู้นั้นจะต้องสัญญาว่าจะจ่ายดอกเบี้ยตามที่ตกลงกันไว้ตลอดช่วงอายุของหุ้นกู้ และจะทำการชำระเงินต้นคืนเมื่อครบกำหนดอายุของหุ้นกู้

“หุ้นกู้ออกใหม่” เดือนเมษายน 2566 ดอกเบี้ยสูงสุด 7.25% ห้ามพลาด!

ระยะเวลาการจ่ายดอกเบี้ย และอายุของหุ้นกู้ คือ อะไร?

ระยะเวลาการจ่ายดอกเบี้ย

โดยทั่วไปหุ้นกู้จะจ่ายดอกเบี้ยปีละ 2 ครั้ง หรือทุก 3 เดือน และ 6 เดือน ส่วนหุ้นกู้ประเภท Zero-coupon จะไม่มีการจ่ายดอกเบี้ย

อายุของหุ้นกู้

หุ้นกู้จะกำหนดอายุที่แน่นอน ส่วนใหญ่จะมีอายุ 3 ปี 5 ปี 7 ปี หรือ 10 ปี และหากรัฐบาลทำการออกหุ้นกู้ในลักษณะนี้จะถูกเรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาล”

ประเภทของ “หุ้นกู้”

ไม่ว่าคุณจะเป็นนักลงทุนมือใหม่หรือมืออาชีพ การทำความรู้จักกับข้อมูลพื้นฐานของสินทรัพย์นั้น ๆ เป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้น คุณควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับประเภทของหุ้นกู้ เพื่อที่จะดูว่า หุ้นกู้แบบใดเหมาะกับตนเอง โดยธนาคารไทยพาณิชย์ได้ให้คำจำกัดความหุ้นกู้ในแต่ประเภท ซึ่งถูกแบ่งออกเป็น 5 ประเภทที่สำคัญ ดังนี้

หุ้นกู้ด้อยสิทธิ (Subordinated Bond)

  • หากบริษัทล้มละลาย ผู้ถือหุ้นกู้มีสิทธิในการเรียกร้องสินทรัพย์ในอันดับที่ด้อยกว่าเจ้าหนี้สามัญ

หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ (Senior Bond)

  • หากบริษัทล้มละลาย ผู้ถือหุ้นกู้มีสิทธิในการเรียกร้องสินทรัพย์ในอันดับที่เท่ากับเจ้าหนี้สามัญ และสูงกว่าผู้ถือหุ้นกู้ด้อยสิทธิ

หุ้นกู้แปลงสภาพ (Convertible bond)

  • หุ้นกู้จะเปลี่ยนเป็นหุ้นสามัญทันที หากบริษัทออกหุ้นสามัญในจำนวนที่มีมูลค่าเท่ากับหุ้นกู้ที่ถืออยู่

หุ้นกู้มีประกัน (Secured Bond)

  • บริษัทจะต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกันการออกหุ้นกู้ และผู้ถือหุ้นกู้จะมีสิทธิในสินทรัพย์มากกว่าเจ้าหนี้สามัญหากบริษัทล้มละลาย

หุ้นกู้ไม่มีประกัน (Unsecured Bond)

  • บริษัทไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันการออกหุ้นกู้ และผู้ถือหุ้นกู้ต้องทำการแบ่งสินทรัพย์กับเจ้าหนี้รายอื่นตามสิทธิและสัดส่วนที่ถือหากบริษัทล้มละลาย

ประเภทสรุป
หุ้นกู้ด้อยสิทธิผู้ถือมีสิทธิด้อยกว่าเจ้าหนี้รายอื่น
หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิผู้ถือมีสิทธิเท่ากับเจ้าหนี้รายอื่น (มากกว่าผู้ถือหุ้นกู้ด้อยสิทธิ)
หุ้นกู้แปลงสภาพหุ้นกู้จะเปลี่ยนเป็นหุ้นสามัญทันที (หากบริษัทออกหุ้นสามัญ = หุ้นกู้ที่ถือ)
หุ้นกู้มีประกันหุ้นกู้ที่มีสินทรัพย์วางประกันในการออก
หุ้นกู้ไม่มีประกันหุ้นกู้ที่ไม่มีสินทรัพย์วางประกันในการออก

การจัดอันดับเครดิตของหุ้นกู้ (Credit Rating)

การจัดอันดับเครดิตของหุ้นกู้ คือ การจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ประเมินความเสี่ยงด้านเครดิตวิธีหนึ่งที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากสามารถเปรียบเทียบความเสี่ยงในแต่ละอันดับได้ โดยสถาบันระดับสากล เช่น Standard & Poor’s (S&P’s), Moody’s และ Fitch Ratings ทำหน้าที่จัดอันดับเครดิตหุ้นกู้ของบริษัทต่าง ๆ ทั่วโลก รวมไปถึงอันดับเครดิตของประเทศ โดยอันดับที่จัดว่าลงทุนได้คือ BBB ขึ้นไป โดยมีรายละเอียด ดังนี้

ระดับเครดิตTRISFitchMoody’sS&Pคำอธิบาย
อันดับ 1AAAAAA(tha)AaaAAAความเสี่ยงต่ำที่สุด
อันดับ 2AAAA(tha)AaAAความเสี่ยงต่ำมาก
อันดับ 3AA(tha)AAความเสี่ยงต่ำ
อันดับ 4 BBBBBB(tha)BaaBBBความเสี่ยงปานกลาง

สิ่งที่ควรรู้ก่อนลงทุน “หุ้นกู้”

  • “Credit Ratings” ต่ำ “ผลตอบแทน” จะยิ่งสูง
  • “ระยะเวลา” นาน “ผลตอบแทน” จะยิ่งสูง
  • บริษัทที่ออกหุ้นกู้จะต้องจ่ายดอกเบี้ยตามที่ตกลงกันไว้ตลอดช่วงอายุของหุ้นกู้ และจะทำการชำระเงินต้นคืนเมื่อครบกำหนดอายุของหุ้นกู้

ข้อดีของ “หุ้นกู้”

  • หุ้นกู้สามารถเป็นรายได้ประจำ
  • หุ้นกู้ทำให้เงินลงทุนมั่นคงปลอดภัย 
  • หุ้นกู้ช่วยการกระจายความเสี่ยงของการลงทุน 
  • หุ้นกู้สามารถซื้อขายเปลี่ยนมือได้
  • หุ้นกู้ได้รับอัตราผลตอบแทนที่สูงกว่าการฝากเงิน

ความเสี่ยงของ “หุ้นกู้”

ความเสี่ยงของหุ้นกู้ด้านอัตราดอกเบี้ย

หุ้นกู้มีความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย โดยหุ้นกู้จะมีมูลค่าสูง และเมื่ออัตราดอกเบี้ยลดลง ในทางตรงกันข้าม หุ้นกู้ก็จะมีมูลค่าลดลง เมื่ออัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น 

ความเสี่ยงของหุ้นกู้ด้านเครดิต

หุ้นกู้มีความเสี่ยงด้านเครดิต โดยหุ้นกู้จะมีจุดที่แตกต่างจากหุ้นหรือหุ้นสามัญ คือ จะมีการจัด Credit Ratings (อันดับความน่าเชื่อถือ) เพื่อที่จะสะท้อนถึงความสามารถในการชำระหนี้ และภาพรวมของกิจการที่ออกหุ้นกู้

ความเสี่ยงของหุ้นกู้ด้านกิจการ

ความเสี่ยงจากกิจการ คือ หุ้นกู้มีเงื่อนไขการค้ำประกัน (Collateralization) โดยมีไว้ในกรณีที่บริษัทที่ออกหุ้นกู้ประสบปัญหาหรือต้องปิดกิจการ หรือล้มละลายนั่นเอง โดยจะไม่สามารถชำระหนี้คืนได้ตามที่สัญญา โดยสามารถแบ่งออกได้ ดังนี้

– หุ้นกู้ไม่มีค้ำประกัน (Unsecured bonds)

– หุ้นกู้มีประกัน (Secured bonds) 

– หุ้นกู้ด้อยสิทธิ์ (Subordinated bonds)

ส่วนลำดับในการชำระเงินต้นคืนเมื่อกิจการล้มละลาย จะเรียงลำดับการจ่ายเงินก่อนหลัง ดังนี้

1. หุ้นกู้มีประกัน
2. หุ้นกู้ไม่มีประกัน
3. หุ้นกู้ด้อยสิทธิ์
4. หุ้นสามัญ

สรุป

หุ้นกู้ คือ ตราสารหนี้ที่ออกโดยภาคเอกชน เพื่อจะระดมทุนไปใช้ในกิจการต่าง ๆ ตามแผนของทางบริษัท อย่างไรก็ตาม การลงทุนในทั้งหุ้นสามัญหรือหุ้นกู้ ย่อมมีเรื่องของความเสี่ยงเสมอ และการลดความเสี่ยงของหุ้นกู้ คือ ต้องศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับสินทรัพย์และกิจการที่เรากำลังจะลงทุน เพื่อที่จะสามารถประเมินความเสี่ยงที่เรารับได้ และบรรลุเป้าหมายการลงทุนของเราได้มากที่สุดนั่นเอง

Table of Contents
TOP FOREX BROKERS
1
5/5
IUX
5/5
2
3/5
IC Markets
IC Markets-top-forex-brokers
IC Markets
4/5
3
4/5
FXGT.com
FXGT.com
4/5
4
3/5
Hantec Markets
Hantec Markets
3/5
5
4/5
Eightcap
Eightcap
3/5

การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

– Advertisement –

การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

FOLLOW US
บทความที่เกี่ยวข้อง

– Advertisement –