ประเทศไทยกำลังพิจารณาจัดเก็บภาษีจากการขายหุ้นของนักลงทุนรายย่อยในตลาดหลักทรัพย์ เพื่อหารายได้เพิ่มเติมเข้ารัฐฯ รัฐบาลกำลังศึกษาความเป็นไปได้ในการยุติการยกเว้นภาษี ซึ่งเริ่มใช้มาตั้งแต่ปี 1991 สำหรับการขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
แหล่งข่าวกล่าวว่า การหักภาษี 0.11% จากการขายหุ้นจะนำมาใช้กับนักลงทุนที่มีปริมาณซื้อขายมากกว่าหนึ่งล้านบาท (31,140 ดอลลาร์) ต่อเดือน
“รัฐบาลต้องการหาวิธีสร้างรายได้มากขึ้น แต่แผนนี้อาจทำให้นักลงทุนกลัว” แหล่งข่าวกล่าวแนวคิดนี้คล้ายกับภาษี Tobin ที่ใช้กับธุรกรรมทางการเงินในอินเดียและไต้หวันตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไม่แสดงความคิดเห็นใด ๆ ในเรื่องนี้
“มันเป็นส่วนหนึ่งของวาระการปฏิรูปภาษีของรัฐบาล” แหล่งข่าวรายหนึ่งกล่าวกับรอยเตอร์ โดยเสริมว่า ข้อเสนอนี้อยู่ในขั้นตอนเบื้องต้นเท่านั้นพวกเขากำลังศึกษาผลกระทบโดยการชั่งน้ำหนักระหว่างผลประโยชน์และต้นทุน แหล่งข่าวกล่าว
“เมื่อมองเรื่องการปฏิรูปภาษี คุณต้องสำรวจดูทุก ๆ ปัจจัยในประเทศ”
แหล่งข่าวอีกราย กล่าวว่า แผนของรัฐบาลไทย คือ การจัดเก็บภาษีจากคนรวยและอยู่ในขั้นตอนของแนวคิดที่ยังไม่มีกรอบเวลาแน่นอน ปัจจุบันประเทศไทยเก็บภาษีกำไรจากส่วนต่างราคาหุ้นจากนักลงทุนสถาบันในประเทศและต่างประเทศ แต่นักลงทุนรายย่อยได้รับการยกเว้น ขณะที่ดัชนีหุ้นไทยเพิ่มขึ้น 9% ในปีนี้
รัฐบาลเคยศึกษาความเป็นไปได้ของการจัดเก็บภาษีกำไรส่วนต่างจากนักลงทุนรายย่อยมาแล้วในอดีต อย่างไรก็ตาม รัฐบาลไทยเองก็ขอไม่แสดงความคิดเห็นใด ๆ ต่อสำนักข่าวรอยเตอร์ในเรื่องนี้เช่นกัน
(ค่าเงินบาท 1 ดอลลาร์ = 32.1800 บาท)
แหล่งข่าว : รอยเตอร์