ตลาดการเงิน ไม่ว่าจะเป็นตลาด Forex หรือหุ้น เป็นตลาดที่มีเทคนิคการวิเคราะห์การลงทุนที่สามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภทคือ วิเคราะห์จากปัจจัยพื้นฐานและวิเคราะห์จากปัจจัยเทคนิค โดยในบทความนี้จะกล่าวถึงการเทรดด้วยการวิเคราะห์จากปัจจัยพื้นฐาน ซึ่งถือว่าเป็นวิธีการประเมินมูลค่าที่แท้จริงของสินทรัพย์ และทำให้เทรดเดอร์มากเห็นภาพรวมการเทรดมากขึ้น
เทรดด้วยการวิเคราะห์จากปัจจัยพื้นฐาน
การเทรดด้วยการวิเคราะห์จากปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental Analysis) คือ การประเมินหามูลค่าที่แท้จริงหรือความเหมาะสมของสินทรัพย์ทางการเงินตัวนั้น ๆ โดยจะเป็นการวิเคราะห์ตัวแปรเชิงคุณภาพ รวมถึงตัวแปรเชิงปริมาณอื่นที่ “ไม่ใช่ราคา” เช่น ข้อมูลงบการเงิน อัตราส่วนกำไร ตัวเลขเงินเฟ้อ เป็นต้น ตลอดจนดัชนีชี้วัดต่างๆ ทางเศรษฐกิจ หรือเทคโนโลยี รวมถึงปัญหาและปัจจัยทางการเมืองด้วย ทั้งหมดนี้ถือเป็นพื้นฐานในการวิเคราะห์ข้อมูลที่สำคัญ
ขั้นตอนการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน
วิเคราะห์ทางพื้นฐาน (Fundamental Analysis) มีขั้นตอนวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานซึ่งมีอยู่หลัก ๆ ดังนี้
วิเคราะห์เศรษฐกิจ (Economic Analysis)
การวิเคราะห์เศรษฐกิจ เป็นการวิเคราะห์แนวโน้มเศรษฐกิจในอนาคต ทั้งเศรษฐกิจของประเทศและเศรษฐกิจโลก เช่น
อัตราดอกเบี้ย
อัตราดอกเบี้ย เป็นตัวบ่งชี้สำคัญในการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน ซึ่งอัตราดอกเบี้ยมีการกำหนดโดยธนาคารกลางของแต่ละประเทศ ซึ่งอัตราดอกเบี้ยถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังมีอิทธิพลต่อสกุลเงิน, เงินเฟ้อ, การค้าขาย และการว่างงานอีกด้วย
เงินเฟ้อ
เงินเฟ้อเป็นการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าในระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งเงินเฟ้อถือว่าเป็นสิ่งที่ดี เมื่อเศรษฐกิจเติบโต กระแสเงินในระบบเพิ่มมากขึ้น แต่ถ้าหากเงินเฟ้อมากเกินไป หรือที่เรียกว่า Hyperinflation ส่งผลให้สกุลเงินของประเทศที่ได้รับผลกระทบอ่อนค่าลงไป นอกจากนี้ การว่างงานยังเพิ่มขึ้นด้วย
GDP
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) เป็นตัววัดมูลค่าสินค้าและบริการประเทศหนึ่ง ๆ ที่ผลิตขึ้นมาในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ซึ่ง GDP ถือว่าเป็นอินดิเคเอตร์ที่บ่งบอกถึงความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจ แต่การที่เทรดเดอร์จะประเมินเศรษฐกิจภายในประเทศได้ ไม่สามารถดูแค่ GDP ของประเทศนั้นได้ ต้องอาศัยข้อมูลทั้งอุปสงค์และอุปทาน
วิเคราะห์อุตสาหกรรม (Industry Analysis)
การวิเคราะห์อุตสาหกรรม เป็นการวิเคราะห์วงจรอุตสาหกรรม ซึ่งวิเคราะห์จากการแข่งขันในอุตสาหกรรม รวมไปถึงแนวโน้มในอนาคตของอุตสาหกรรม ซึ่งแนวโน้มของอุตสาหกรรมขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น นโยบายการดำเนินงานของรัฐบาลที่ให้การสนับสนุนกับอุตสาหกรรม, โครงสร้างอุตสาหกรรมแต่ละประเภท เป็นต้น
วิเคราะห์บริษัท (Company Analysis)
การวิเคราะห์บริษัทเป็นตัวสุดท้ายในการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน ซึ่งวิเคราะห์ประเภทและลักษณะของบริษัท ว่ามีความน่าสนใจมากน้อยเพียงใด สามารถวิเคราะห์ได้ทั้งเชิงคุณภาพ (Qualitative Analysis) เช่น ความสามารถของผู้บริหาร, ความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ เป็นต้น และในเชิงปริมาณ (Quantitative Analysis) เช่น รายงานประจำปี หรืองบการเงินในปัจจุบันและอดีตของบริษัท
ประโยชน์ของการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน
1. นักลงทุนได้ประโยชน์จากแนวโน้มของหลักทรัพย์นั้น ๆ ในระยะยาว หรืออย่างน้อยก็หลักไตรมาส
2. เป็นการรวบรวมข้อมูลจำนวนมากที่เกิดขึ้นจริงจากในอดีตมาทำการวิเคราะห์ จึงทำให้แนวโน้มมีความเป็นไปได้และน่าเชื่อถือ
3. สามารถประเมินมูลค่าที่ควรจะเป็นได้ และบอกได้ว่า ราคาของสินทรัพย์นั้น ๆ ว่า มูลค่าแพงเกินไป หรือมูลค่าถูกเกินไป
ข้อจำกัดของการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน
1. การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานไม่สามารถระบุช่วงเวลาเข้าหรือออกจากตลาด Forex
2. ไม่สามารถใช้วิเคราะห์การเทรดระยะสั้นได้ จึงไม่เหมาะกับนักลงทุนประเภท Day Trade หรือ Swing Trade
กล่าวโดยสรุป การเทรดโดยวิเคราะห์จากปัจจัยพื้น (Fundamental Analysis) ช่วยให้เทรดเดอร์สามารถเห็นมูลค่าแท้จริงของสินทรัพย์ ซึ่งการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน สามารถแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ วิเคราะห์เศรษฐกิจ, การวิเคราะห์อุตสาหกรรม และการวิเคราะห์บริษัท โดยทั้ง 3 ขั้นตอนถือว่ามีความสำคัญกับการเทรด เนื่องจาก ทำให้เทรดเดอร์สามารถมองเห็นภาพรวมสำหรับการเทรด รวมถึงแนวโน้มในอนาคตของตลาด จึงเหมาะกับการเทรดระยะยาว แต่การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานไม่เหมาะกับตลาดกับ Forex เพราะตลาด Forex มีความผันผวนสูง ทำให้การวิเคราะห์ทางเทคนิคได้รับความนิยมมากว่าการวิเคราะห์จากปัจจัยพื้นฐาน
——————————————————————————————————————————————
อ่านบทความเพิ่มเติม: Knowledge
อ่านรีวิวโบรกเกอร์อื่น ๆ ได้ที่: Review Broker
อ่านรีวิว Exchange อื่น ๆ ได้ที่: Crypto Exchanges
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติม: News