Table of Contents
Table of Contents

Moving Average คือ อะไร? สุดยอด Indicator พื้นฐานที่ใช้ง่ายที่สุด ใครก็เทรดได้

Moving Average คือ

ตลาดการเงินในปัจจุบันกำลังเป็นที่นิยม ไม่ว่าใครก็อยากลิ้มลองรสชาติการลงทุน เพราะผลตอบแทนมันหอมหวาน ซึ่งมีเครื่องมือมากมายที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการเทรด เพื่อวิเคราะห์กราฟในการหาสัญญาณซื้อขายที่แม่นยำ โดยเฉพาะอินดิเคเตอร์ (Indicator) โดยแต่ละอินดิเคเตอร์มีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป

Moving Average คือ หนึ่งในอินดิเคเตอร์ที่ ChatGPT แนะนำ ในการระบุแนวโน้มของราคา

บทความนี้ เราจะกล่าวถึง Indicator พื้นฐานที่นักเทรดต้องรู้จัก หรือควรทำเข้าใจให้ได้ เพราะมันเป็นอินดิเคเตอร์ที่ใช้งานง่ายที่สุด ไม่ว่าใครก็สามารถเป็นนักเทรดได้ นั่นคือ Moving Average (MA) นอกจากนี้ Moving Average คือ หนึ่งในอินดิเคเตอร์ที่ ChatGPT แนะนำ ในการระบุแนวโน้มของราคา

  • Moving Average คือ อะไร ?
  • สูตรคำนวณ Moving Average
  • ประเภทของ Moving Average
  • ค่า Moving Average ที่นิยมใช้ (Period)
  • Moving Average บอกอะไรบ้าง ?
  • Moving Average ใช้อย่างไร ?

———————————— 🐣 ————————————

Moving Average คือ อะไร?

Moving Average (MA) หมายความว่า ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ เนื่องจาก Moving Average คือ Indicator ที่มีการคำนวณจากค่าเฉลี่ย (Average) ของราคา โดยใช้ข้อมูลของราคาปิดย้อนหลังตามที่ระยะเวลาที่กำหนด และตรวจสอบระดับแนวรับและแนวต้าน ซึ่งจะแสดงเป็นเส้นเรียบในกราฟ เพื่อให้ดูง่ายและสะดวกต่อการใช้ นอกจากนี้ สามารถระบุแนวโน้มของราคา และบอกแนวรับ-แนวต้าน รวมถึงสัญญาณเข้าซื้อหรือขายเบื้องต้น

Moving Average คือ

สูตรคำนวณ Moving Average (MA)

อย่างที่กล่าวไปข้างต้น Moving Average คือ อินดิเคเตอรที่คำนวณโดยใช้ค่าเฉลี่ยของราคาปิดย้อนหลังตามที่ระยะเวลาที่กำหนด แต่ค่าเฉลี่ยตัวเดียวไม่สามารถวิเคราะห์แนวโน้มราคาได้ ดังนั้น Moving Average จึงคำนวณค่าเฉลี่ยออกมาหลายค่า เมื่อมีราคาใหม่เพิ่มขึ้นมา และแสดงออกมาเป็นกราฟเส้น ด้วยการเรียงข้อมูลค่าเฉลี่ยที่คำนวณได้ต่อเนื่องกัน และวาดควบคู่กับกราฟราคา

ตัวอย่างการคำนวณ Moving Average (MA)

ข้อมูลราคาปิดของ Apple Inc (AAPL) ณ วันที่ 22-26 มิ.ย. 2014

วันที่ราคาปิดของ AAPL
 26 มิถุนายน$22.72
 25 มิถุนายน$22.59
24 มิถุนายน$22.57
23 มิถุนายน$22.71
22 มิถุนายน$22.73

Moving Average (MA) 5 วัน คำนวณโดยนำราคาทั้งหมดมารวมกัน และหารด้วยจำนวนวัน ซึ่งจะได้ค่า Moving Average คือ 22.66 ซึ่งการใช้ Moving Average เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการกำจัดความผันผวนของราคา

การเลือกเส้น Moving Average (MA) ที่ดีที่สุด

ในโปรแกรมเทรดต่าง ๆ จะมีเส้น Moving Average (MA) ให้เลือกใช้มากมาย แต่เส้น Moving Average ที่นักลงทุนส่วนใหญ่นิยมใช้มีอยู่ 2 ประเภท ได้แก่ Simple Moving Average (SMA) และ Exponential Moving Average (EMA) ซึ่ง SMA และ EMA มีหลักการคำนวณและการทำงานที่แตกต่างกันออกไป โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้:

Simple Moving Average (SMA)

  • เส้น SMA คือ เส้นที่ใช้ราคาจากอดีตมาหาค่าเฉลี่ย และให้น้ำหนักของข้อมูลทุกตัวเท่ากัน ทำให้เส้น SMA “ให้สัญญาณช้า” กว่าเส้น EMA

Exponential Moving Average (EMA)

  • เส้น EMA คือ เส้นที่ใช้ราคาจากอดีตมาหาค่าเฉลี่ยเช่นเดียวกับเส้น SMA แต่ให้น้ำหนักกับราคาล่าสุดมากกว่า ทำให้เส้น EMA “ให้สัญญาณเร็ว” กว่าเส้น SMA

ตัวอย่างแสดงการส่งสัญญาณของ เส้น SMA และ เส้น EMA

Moving Average คือ

จากกราฟจะเห็นว่า เส้น EMA มีการตอบสนองต่อราคา หรือวิ่งตามราคาได้เร็วกว่าเส้น SME โดยเมื่อราคาปรับตัวขึ้น เส้นที่ปรับตัวขึ้นตามก่อน คือ เส้น EMA ในทางกลับกัน เมื่อราคาปรับตัวลง เส้นที่ลงก่อน คือ เส้น SMA สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ เพราะ เส้น EMA มีการคำนวณที่ให้น้ำหนักกับวันล่าสุดมากกว่า

ดังนั้น การเลือกใช้ประเภทเส้น Moving Average จึงขึ้นอยู่กับนักเทรดว่า ชอบเส้นที่ให้สัญญาณได้เร็วหรือช้ากว่า แต่ใช่ว่าเส้นที่ให้สัญญาณเร็วนั้นจะดีเสมอไป เนื่องจากยิ่งเส้น Moving Average มีความเร็วมากเท่าไร ย่อมมีโอกาสสูงที่จะเกิดสัญญาณหลอกมากเท่านั้น ในทางกลับกัน เส้นที่ให้สัญญาณช้ากว่า มีโอกาสเกิดสัญญาณหลอกได้น้อยกว่าเช่นกัน

📌 สรุปง่าย ๆ

  • เส้น Moving Average ที่นิยมใช้มีอยู่ 2 ประเภท ได้แก่ เส้น EMA และ เส้น SMA
  • เส้น SMA คือ เส้นที่ใช้ราคาจากอดีตมาหาค่าเฉลี่ยแบบง่าย
  • เส้น EMA คือ เส้นที่ใช้ราคาจากอดีตมาหาค่าเฉลี่ย และให้น้ำหนักมาที่ราคาล่าสุด
  • เส้น EMA ให้สัญญาณได้เร็วกว่าเส้น SME
  • เส้น EMA มีโอกาสเกิดสัญญาณหลอกมากกว่าเส้น SME
  • การเลือกใช้เส้น Moving Average ขึ้นอยู่กับความชอบส่วนบุคคล

ค่า Moving Average ที่นิยมใช้ (Period)

หลักการเลือกค่า Moving Average (SMA, EMA) ที่นิยมใช้

การตั้งค่าหรือเลือกใช้ช่วงเวลาของเส้น Moving Average ขึ้นอยู่กับความถนัดและข้อจำกัดในการลงทุนของแต่ละบุคคล โดยเส้น Moving Average ทั้งเส้น SMA และ EMA มีความคล้ายคลึงกันเป็นอย่างมาก แตกต่างกันแค่ความเร็วของการให้สัญญาณเข้าซื้อหรือขาย ดังนั้น การเลือกค่าช่วงเวลามาใช้ในการเทรดจึงเป็นสิ่งสำคัญ และควรตั้งค่าให้เหมาะสมกับเทคนิคการเทรดของตนเอง

Moving Average คือ

ลงทุนระยะสั้น

ค่า Moving Average ที่นิยมใช้ คือ 5-10 วัน เหมาะสำหรับนักเทรดแบบ Day Trade หรือหากเร็วไปอาจเปลี่ยนเป็น 20 และ 25 วัน จะช่วยลดความผันผวนและเห็นแนวโน้มได้ชัดเจนขึ้น

ลงทุนระยะกลาง

ค่า Moving Average ที่นิยมใช้ คือ 50 วัน ตามด้วย 75 และ 100 วัน เนื่องจากให้ภาพแนวโน้มหลักที่กว้างขึ้น เหมาะสำหรับการเทรดตามเทรนด์

ลงทุนระยะยาว

ค่า Moving Average ที่นิยมใช้ คือ 200 วัน เนื่องจากสามารถบอกแนวโน้มได้อย่างชัดเจนที่สุด และแสดงความเคลื่อนไหวหลักปี

ข้อดี-ข้อเสีย ของการเลือกใช้จำนวนวันน้อย

  • ข้อดี: เห็นการเปลี่ยนแปลงของแนวโน้มได้รวดเร็ว
  • ข้อเสีย: สัญญาณการเข้าซื้อหรือขายอาจผิดพลาดในช่วงที่ตลาดผันผวน หรือเรียกว่า เกิด Noise (ตัวรบกวน)

ข้อดี-ข้อเสีย ของการเลือกใช้จำนวนวันมาก

  • ข้อดี: เห็นการเปลี่ยนแปลงของแนวโน้มได้ช้าลง แต่การเกิด Noise ก็ลดลงไปด้วย
  • ข้อเสีย: เนื่องจากสัญญาณการเปลี่ยนแปลงแนวโน้มค่อนข้างช้า จึงอาจทำให้พลากโอกาสในการทำกำไรบางจังหวะ

📌 เคล็ดลับเพิ่มเติม

จำนวนวันที่ใช้กันอย่างแพร่หลายสำหรับ Exponential Moving Average หรือ เส้น EMA คือ 5 วัน, 10 วัน, 20 วัน, 25 วัน, 40 วัน, 50 วัน, 75 วัน และ 200 วัน เนื่องจากเป็นจำนวนในรอบสัปดาห์ เดือน และไตรมาส

  • เส้น Moving Average (EMA) 5 วัน เปรียบเสมือนการคิดเฉลี่ยย้อนหลัง 5 วันทำการ หรือ 1 สัปดาห์
  • เส้น Moving Average (EMA) 10 วัน เปรียบเสมือนการคิดเฉลี่ยย้อนหลัง 10 วันทำการ หรือ 2 สัปดาห์ หรือ ประมาณครึ่งเดือน
  • เส้น Moving Average (EMA) 20 วัน เปรียบเสมือนการคิดเฉลี่ยย้อนหลัง 20 วันทำการ หรือ 4 สัปดาห์ หรือ เกือบๆ 1 เดือน
  • เส้น Moving Average (EMA) 25 วัน เปรียบเสมือนการคิดเฉลี่ยย้อนหลัง 25 วันทำการ หรือ ประมาณ 1 เดือน
  • เส้น Moving Average (EMA) 40 วัน เปรียบเสมือนการคิดเฉลี่ยย้อนหลัง 40 วันทำการ หรือ 8 สัปดาห์ หรือ เกือบๆ 2 เดือน
  • เส้น Moving Average (EMA) 50 วัน เปรียบเสมือนการคิดเฉลี่ยย้อนหลัง 50 วันทำการ หรือ ประมาณ 2 เดือน
  • เส้น Moving Average (EMA) 75 วัน เปรียบเสมือนการคิดเฉลี่ยย้อนหลัง 75 วันทำการ หรือ ประมาณ 3 เดือน หรือ 1 ไตรมาส
  • เส้น Moving Average (EMA) 200 วัน คือ ตัวเลขกลม ๆ ของจำนวนวันประมาณ 3 ไตรมาส

Moving Average บอกอะไรบ้าง ?

  • Moving Average คือ อินดิเคเตอร์ที่สามารถดูแนวโน้มราคาได้
  • Moving Average คือ อินดิเคเตอร์ที่สามารถหาแนวโน้มที่แข็งแรง และอ่อนแรงได้
  • Moving Average คือ อินดิเคเตอร์ที่สามารถเป็นแนวรับและแนวต้าน

Moving Average ใช้อย่างไร ?

วิธีใช้ Moving Average (MA) ดูแนวโน้มราคา

การใช้ Moving Average Indicator เพื่อดูแนวโน้มของราคา ทำได้ 2 วิธีหลัก ๆ ดังนี้:

1. หาแนวโน้มราคาจากความชัน (Slope) ของ Moving Average

Slope ชี้ขึ้น, ราคาอยู่บนเส้น MA = มีโอกาสสูงที่จะเป็นแนวโน้มขาขึ้น

Slope ชี้ลง, ราคาอยู่ใต้เส้น MA = มีโอกาสสูงที่จะเป็นแนวโน้มขาลง

  • ถ้าหากชันชี้ขึ้นอย่างต่อเนื่อง และราคาวิ่งอยู่บนเส้น Moving Average = มีโอกาสสูงที่จะเป็นแนวโน้มขาขึ้น
  • ถ้าหากชันชี้ลงอย่างต่อเนื่อง และราคาวิ่งอยู่ใต้เส้น Moving Average = มีโอกาสสูงที่จะเป็นแนวโน้มขาลง

ตัวอย่างการใช้งาน

Moving Average คือ

📌 เคล็ดลับเพิ่มเติม

  • คุณสามารถเลือกได้ว่า จะใช้เส้น EMA ทั้งหมด หรือเส้น EMA และเส้น SMA ควบคู่กัน เพื่อความแม่นยำที่มากขึ้น ขึ้นอยู่กับความถนัดของแต่ละบุคคล
  • ในกรณีที่ใช้เส้น Moving Average เส้นเดียว มีหลักการจำง่าย ๆ คือ เมื่อแท่งเทียนทะลุเส้น MA ขึ้นไป ฝั่ง Buy จะมีความได้เปรียบมากกว่า และเมื่อแท่งเทียนหลุดเส้น MA ลงมา ฝั่ง Sell จะมีความได้เปรียบมากกว่า
  • การใช้เส้น Moving Average ที่ให้สัญญาณเร็ว เช่น EMA จำนวนวันน้อย อาจมีโอกาสจับสัญญาณแนวโน้มได้เร็วกว่า

2. หาแนวโน้มราคาจากการตัดกัน (Crossover) ของเส้น Moving Average 2 เส้น

โดยเราจะใช้เส้น Moving Average ที่มีจำนวนวันน้อย และเส้น Moving Average ที่มีจำนวนวันมากเพื่อดูการตัดกัน หากเส้นจำนวนวันน้อยตัดเส้นจำนวนวันมากขึ้นไป แสดงว่า ราคามีโอกาสสูงที่จะเปลี่ยนเป็นแนวโน้มขาขึ้น ในทางกลับกัน หากเส้นจำนวนวันน้อยตัดเส้นจำนวนวันมากลงมา แสดงว่า ราคามีโอกาสสูงที่จะเปลี่ยนเป็นแนวโน้มขาลง

Period น้อย ตัด Period มาก ขึ้นไป = มีโอกาสสูงที่จะเป็นแนวโน้มขาขึ้น

Period น้อย ตัด Period มาก ลงมา = มีโอกาสสูงที่จะเป็นแนวโน้มขาลง

ตัวอย่างการใช้งาน

Moving Average คือ
การใช้เส้น Moving Average ประเภท EMA 10 วัน และ EMA 75 วัน ในการดูแนวโน้ม

📌 เคล็ดลับเพิ่มเติม

  • คุณสามารถเลือกได้ว่า จะใช้เส้น Moving Average ประเภทใด ขึ้นอยู่กับความถนัดของแต่ละบุคคล
  • Period น้อย ตัด Period มาก ขึ้นไป ฝั่ง Buy ได้เปรียบมากกว่า
  • Period น้อย ตัด Period มาก ลงมา ฝั่ง Sell ได้เปรียบมากกว่า

วิธีใช้ Moving Average (MA) เป็นแนวโน้มรับและแนวต้าน

Moving Average Indicator สามารถใช้เป็นแนวรับและแนวต้านได้ ดังนั้น เมื่อราคาวิ่งขึ้นไปหรือลงมาทดสอบกับเส้น Moving Average เราต้องจับตาดูให้ดี เนื่องจากอาจเป็นจุดกลับตัวของราคาที่สำคัญ ทำให้นักเทรดส่วนใหญ่มักใช้เส้น Moving Average ในการหาจุดเข้าซื้อและขาย

ราคาทะลุขึ้นเส้น MA แนวต้าน = ฝั่ง Buy ได้เปรียบมากกว่า

ราคาหลุดลงเส้น MA แนวรับ = ฝั่ง Sell ได้เปรียบมากกว่า (การ Stop Loss)

  • แนวรับ (Support) คือ การที่ราคาปรับตัวลงในระดับหนึ่งจนเกิดแรงจูงใจในการเข้าซื้อ
  • แนวต้าน (Resistance) คือ การที่ราคาปรับตัวขึ้นในระดับหนึ่งจนเกิดแรงจูงใจในการขายออก

ตัวอย่างการใช้งาน

Moving Average คือ

———————————— 🐣 ————————————

สรุป

Moving Average คือ อินดิเคเตอร์ที่ ChatGPT แนะนำในการระบุแนวโน้มของราคา และสามารถเป็นแนวรับและแนวต้านได้ โดย Moving Average คือ สุดยอด Indicator พื้นฐานที่ใช้ง่ายที่สุด ถือเป็นอินดิเคเตอร์ตัวแรก ๆ ที่นักเทรดต้องรู้ นอกจากนี้ เรายังสามารถเลือกใช้ประเภทของเส้น Moving Average เช่น EMA หรือ SMA ในการวิเคราะห์กราฟตามความถนัดของแต่ละบุคคล ซึ่งทั้งสองเส้นนี้มีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป อย่างไรก็ตาม การลงทุนล้วนมีความเสี่ยง ควรศึกษาปัจจัยพื้นฐานของตลาดที่สนใจอย่างละเอียด

Table of Contents
TOP FOREX BROKERS
1
5/5
IUX
5/5
2
3/5
IC Markets
IC Markets-top-forex-brokers
IC Markets
4/5
3
4/5
FXGT.com
FXGT.com
4/5
4
3/5
Hantec Markets
Hantec Markets
3/5
5
4/5
Eightcap
Eightcap
3/5

การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

– Advertisement –

การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

FOLLOW US
บทความที่เกี่ยวข้อง

– Advertisement –