ทั้งนักลงทุนและนักเทรด ต่างก็ต้องการที่จะสร้างผลกำไรในตลาดการเงินนั้นๆ แต่ ‘ความแตกต่างของการเทรด และการลงทุน‘ อยู่ที่วิธีการที่จะก้าวไปให้ถึงจุดหมายหรือเป้าหมาย
ความแตกต่างของการเทรด และการลงทุน มีอะไรบ้าง? ไปดูกันเลย!
การลงทุนคืออะไร ?
การลงทุน (Investing) คือ การจัดสรรทรัพยากรอย่างเช่น เงินทุน โดยหวังที่จะสร้างผลกำไร อาจรวมไปถึงการใช้เงินเพื่อสนับสนุนหรือเริ่มทำธุรกิจ หรือการซื้อที่ดินเพื่อเอาไว้ขายต่อในราคาที่สูงขึ้นในอนาคต และในตลาดการเงินนั้น การลงทุนมักเกี่ยวข้องกับการลงทุนในตราสารทางการเงินนั่นเอง เพื่อหวังว่า จะขายด้วยราคาที่สูงขึ้นในอนาคต ซึ่งการคาดการณ์ผลตอบแทน คือ แนวคิดหลักของการลงทุน และการลงทุนมักอาศัยแนวทางในระยะยาวมากกว่าเพื่อเป็นการสะสมทรัพย์ โดยเป้าหมายของนักลงทุนก็คือการสะสมทรัพย์ในระยะยาวนั่นเอง
การเทรดคืออะไร ?
การเทรด ถือเป็นหนึ่งในแนวคิดพื้นฐานในทางเศรษฐศาสตร์ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการซื้อและขายสินทรัพย์ เช่น สินค้าและบริการที่ผู้ซื้อทำการจ่ายค่าตอบแทนให้กับผู้ขาย และในบางกรณี ธุรกรรมอาจจะประกอบไปด้วยการแลก-เปลี่ยนสินค้าและบริการระหว่างฝ่ายที่ตกลงซื้อ-ขายกัน โดยในบริบทตลาดการเงินนั้น สินทรัพย์ที่ใช้เทรดจะเรียกว่า ” ตราสารทางการเงิน (Financial Instrument)” เช่น หุ้น พันธบัตร และคู่สกุลเงินในหลายตลาด ทั้ง Forex, Option, Futures, ผลิตภัณฑ์ Margin, คริปโตเคอร์เรนซี เป็นต้น และคำว่า “เทรด” มักใช้ในการซื้อ-ขายระยะสั้น โดยนักเทรดมักจะเข้า-ออก Position ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ
ความแตกต่างของการเทรด และการลงทุน
โดยทั่วไปแล้วนั้น นักลงทุนมักจะมองหาช่องทางที่จะสร้างผลตอนแทนในระยะยาวมากกว่า ซึ่งอาจจะนานเป็นปีหรือหลายปีเลย เพราะนักลงทุนจะมีระยะเวลาที่จะใช้สร้างผลตอบแทนที่นานกว่า โดยผลตอบแทนที่ได้ตั้งเป้าไว้ มักจะมีจำนวนที่มากกว่าเช่นกัน
ตรงกันข้ามกับเหล่านักเทรด ที่จะพยายามใช้โอกาสและสร้างกำไรจากความผันผวนของตลาด โดยทำการเข้าและออกจาก Position ให้บ่อยมากขึ้น แต่ได้ผลตอบแทนในแต่ละครั้งน้อยกว่า (แต่นักเทรดมักจะทำการเทรดหลายรายการมากกว่า)
อย่างไรก็ตาม ถ้าหากถามว่า แล้วการเทรดหรือการลงทุนอันไหนดีกว่ากัน? หรืออันไหนเป็นสิ่งที่เหมาะกับเรามากกว่า? เรื่องนี้ก็เป็นสิ่งที่เราต้องตัดสินใจกันเองนั่นแหละ เพราะเราต้องลงมือเรียนรู้จากประสบการณ์ของเราเอง ถึงจะรู้ได้ว่า การเทรดหรือการลงทุนเหมาะสมกับเรา และเมื่อเวลาผ่านไป เราก็จะรู้ว่าสิ่งไหนที่เหมาะกับเป้าหมายทางการเงิน หรือสไตล์ของเรานั่นเอง
———————————————————————————————————————————————————————————————
อ่านบทความเพิ่มเติม: Knowledge