Table of Contents
Table of Contents

เงินฝืดคืออะไร? แนะนำสินทรัพย์ปลอดภัยน่าลงทุนช่วงเงินฝืด

เงินฝืดคืออะไร? แนะนำสินทรัพย์ปลอดภัยน่าลงทุนช่วงเงินฝืด

เงินฝืดคืออะไร คำว่า “เงินฝืด” ถือว่าอยู่คู่กับคนไทยในช่วงเศรษฐกิจผันผวนมาโดยตลอด การทำความเข้าใจและหาทางรับมือกับผลกระทบของเงินฝืดจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ซึ่งอีกหนึ่งทางออกที่ปลอดภัยและถือเป็น Passive Income ที่ดี คือ การลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัย ในวันนี้ทีมงาน Gotradehere จะพาทุกท่านไปรู้จักกับ เงินฝืดคืออะไร ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ และคำแนะนำการเลือกสินทรัพย์ที่ช่วยปกป้องเงินของคุณจากภาวะเงินฝืดอย่างมีประสิทธิภาพครับ 

ทำความรู้จักเงินฝืดคืออะไร?

ทำความรู้จักเงินฝืดคืออะไร?
เงินฝืดคืออะไร? แนะนำสินทรัพย์ปลอดภัยน่าลงทุนช่วงเงินฝืด 6

เงินฝืด (Deflation) คือ สภาวะเศรษฐกิจที่ระดับราคาของสินค้าและบริการลดลง เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคลดลง เกิดความกังวลไม่กล้าจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภค และอาจส่งผลในระยะยาวให้เกิดการผลิตสินค้าลดลง ความต้องการด้านแรงงานลดลง เกิดการตกงาน รายได้น้อยลง และอาจนำไปสู่สภาวะเศรษฐกิจแบบถดถอย ซึ่งส่งผลต่อการลงทุนของนักลงทุนโดยตรง เนื่องจากความลังเลและกังวลใจในการลงทุนช่วงที่เศรษฐกิจกำลังประเชิญกับปัญหาเงินฝืดครับ

สาเหตุของการเกิดภาวะเงินฝืด

สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดภาวะเงินฝืดมาจากอุปสงค์ลดลงอย่างต่อเนื่อง ความต้องการในสินค้าและบริการของประชาชนลดลง โดยมีสาเหตุมาจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น ความกังวลต่อเศรษฐกิจ ณ ช่วงเวลานั้น, ปัญหาทางการเงินที่เกิดขึ้น หรือการคาดการณ์ว่าราคาสินค้าอาจปรับตัวลงในอนาคต ส่งผลให้ประชาชนชะลอการใช้จ่ายและเลือกที่จะเก็บเงินแทน นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่เป็นสาเหตุของการเกิดเงินฝืด อาทิเช่น

  • การปรับตัวของกลุ่มผู้ผลิต เช่น ลดกำลังการผลิต, ลดจำนวนการผลิต, ลดต้นทุน และปรับราคาสินค้า
  • ปัจจัยด้านนโยบายทางการเงินที่เข้มงวดมากยิ่งขึ้น เช่น การปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย ส่งผลให้ต้นทุนในการกู้ยืมสูง 
  • ปัจจัยภายนอกประเทศ เช่น การนำเข้าสินค้าต่างประเทศราคาถูกและการแข็งค่าของเงินในประเทศ

ภาวะเงินฝืดจึงเป็นปัญหาเศรษฐกิจที่ค่อนข้างซับซ้อน เกิดได้จากหลายปัจจัยที่เชื่อมโยงกัน และส่งผลกระทบโดยตรงต่อทุกภาคส่วนในระบบเศรษฐกิจครับ

ความแตกต่างระหว่างเงินเฟ้อและเงินฝืด

ความแตกต่างระหว่างเงินเฟ้อและเงินฝืด
เงินฝืดคืออะไร? แนะนำสินทรัพย์ปลอดภัยน่าลงทุนช่วงเงินฝืด 7

เมื่อพูดถึงเงินฝืดก็ต้องมีเงินเฟ้อคู่กันมาเสมอ เปรียบเสมือนปัญหาทางเศรษฐกิจที่ไม่ว่าใครก็ต้องเคยได้ยิน แล้วทั้งสองอย่างนี้แตกต่างกันยังไง ในหัวข้อนี้จะอธิบายความแตกต่างระหว่างเงินเฟ้อและเงินฝืด เพื่อเป็นเกร็ดความรู้สำหรับทุกคนครับ  

เงินฝืดเงินเฟ้อ
คำนิยามสภาวะที่ราคาของสินค้าและบริการลดลงอย่างต่อเนื่องสภาวะที่ราคาสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
สาเหตุของปัญหาความกังวลที่มีต่อเศรษฐกิจของผู้บริโภค ส่งผลให้อุปสงค์ลดลงอย่างต่อเนื่องอุปสงค์ของผู้บริโภคเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นตาม นำไปสู่การปรับตัวของราคาสินค้าและบริการที่มากขึ้น
พฤติกรรมของผู้บริโภคหลีกเลี่ยงการใช้จ่าย เน้นการเก็บออมการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนเพิ่มสูงขึ้น
พฤติกรรมของผู้ผลิตลดราคาสินค้าและบริการ, ลดการจ้างงานภายใน และลดการผลิตของบริษัทเร่งการผลิตเป็นจำนวนมาก ทำให้ราคาสินค้าปรับตัวสูงตามอุปสงค์
ผลกระทบโดยรวมส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจภายในประเทศ เศรษฐกิจเกิดการชะลอตัวลงราคาสินค้าภายในประเทศเพิ่มสูงขึ้น ต้นทุนการผลิตสูง ความสามารถในการจับจ่ายใช้สอยลดลง

ผลกระทบของภาวะเงินฝืด

ภาวะเงินฝืดส่งผลกระทบทั้งต่อตัวบุคคลและต่อเศรษฐกิจด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น 

  • เกิดการชะลอการใช้จ่าย : เมื่อราคาสินค้าปรับตัวลดลง ผู้บริโภคมักจะรอให้ราคาลดลงไปอีกก่อนตัดสินใจซื้อ ทำให้การบริโภคในปัจจุบันลดลง ส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอตัว
  • การชะลอตัวของการลงทุน : ปัญหาเงินฝืดส่งผลให้เกิดการชะลอตัวของการลงทุนในด้านต่าง ๆ ด้วยเช่นกัน เนื่องจากความกังวลของประชาชนต่อธุรกิจที่มีรายได้ลดลง และทางธุรกิจก็มีผลกำไรน้อยลงจากอุปสงค์ที่ลดลงของผู้บริโภคด้วยเช่นกัน ทำให้ยังไม่เหมาะที่จะลงทุนในช่วงนี้
  • ภาระหนี้ที่เพิ่มมากขึ้น : รายได้ของธุรกิจและประชาชนทั่วไปลดลง จากการปรับตัวของราคาสินค้าที่ลดลง ทำให้การชำระคืนหนี้เดิมที่มีอัตราดอกเบี้ยคงเดิมเป็นไปได้ยากขึ้น
  • อัตราการจ้างงานลดลง : เนื่องจากความต้องการในสินค้าที่ลดลงของผู้บริโภค กลุ่มผู้ผลิตมีความจำเป็นต้องลดการผลิตลง ส่งผลให้ต้องลดทั้งปริมาณการผลิตและกำลังการผลิต ซึ่งนำไปสู่การลดปริมาณการจ้างงานในแต่ละกลุ่มธุรกิจ รายได้ของประชาชนลดลงจากอัตราการจ้างงานที่ลดลง ส่งผลให้ชะลอการใช้จ่ายด้วยเช่นกัน 
  • เกิดความเครียดและความวิตกกังวล : ภาระหนี้ที่เพิ่มขึ้นในช่วงที่เศรษฐกิจไม่แน่นอนอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตของลูกหนี้
  • เศรษฐกิจเกิดการชะลอตัว : จากผลกระทบที่กล่าวมาทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากเงินฝืด เป็นสิ่งที่ทำให้เศรษฐกิจภายในประเทศเกิดการชะลอตัวลง ลดการผลิต ไม่เกิดการซื้อขาย ประชาชนไม่มีการใช้จ่าย และนำไปสู่ช่วงเศรษฐกิจแบบถดถอยและตกต่ำในที่สุด

ตัวอย่างของภาวะเงินฝืดที่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทย

สำหรับภาวะเงินฝืดที่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทย และเป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์ที่นักลงทุนหรือประชาชนทั่วไปหลายคนต้องรู้จักกันดี อย่างวิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 หรือที่เรียกกันว่า “วิกฤตการณ์ต้มยำกุ้ง” เป็นเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยเป็นอย่างมาก อาทิเช่น 

  • อัตราเงินเฟ้อติดลบ -0.9% ในปี 2542 (ครั้งแรกในรอบ 40 ปี)
  • บริษัทจำนวนมากต้องปิดตัวลง พบเจอปัญหาหนี้สินมากขึ้น รายได้และผลกำไรลดลงอย่างมาก จากการปรับราคาสินค้าที่ลดลงตามอุปสงค์
  • อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นสูงถึง 4.4% ส่งผลให้เกิดปัญหาสังคมตามมา เช่น อาชญากรรมและความยากจน
  • ประชาชนระวังการใช้จ่าย เกิดความกังวลในการใช้เงิน 

ทั้งนี้ ภาวะเงินฝืดเป็นเพียงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากวิกฤตการณ์ต้มยำกุ้ง ซึ่งเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ทำให้เศรษฐกิจยืดเยื้อและยากต่อการแก้ไขครับ

ช่วงภาวะเงินฝืดควรลงทุนอะไรให้ปลอดภัยที่สุด ?

จะดีกว่าไหม? ถ้าในช่วงที่เรากำลังประสบกับภาวะเงินฝืด เศรษฐกิจกำลังชะลอตัว ถ้าเราสามารถหาช่องทางการลงทุนที่ปลอดภัย ความเสี่ยงต่ำ และได้รับผลตอบแทนอย่างสม่ำเสมอ ในหัวข้อนี้ เราจะขอแนะนำสินทรัพย์ปลอดภัย เหมาะสำหรับประชาชนทั่วไปและนักลงทุนหน้าใหม่ กับการลงทุนในช่วงเงินฝืดครับ 

ลงทุนกับพันธบัตรรัฐบาลในภาวะเงินฝืด

ลงทุนกับพันธบัตรรัฐบาลในภาวะเงินฝืด
เงินฝืดคืออะไร? แนะนำสินทรัพย์ปลอดภัยน่าลงทุนช่วงเงินฝืด 8

พันธบัตรรัฐบาล (Government Bond) คือ ตราสารหนี้ประเภทหนึ่งที่ออกโดยกระทรวงการคลัง เพื่อระดมทุนสำหรับใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ของทางรัฐบาล ถือเป็นสินทรัพย์การลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ มั่นใจได้ว่าจะได้รับดอกเบี้ยและเงินต้น (Default free) คืนแบบไม่ผิดนัดชำระอย่างแน่นอน ซึ่งแตกต่างจากหุ้นกู้ (Corporate Bond) ที่มีโอกาสผิดนัดชำระดอกเบี้ยจากที่กำหนด โดยพันธบัตรรัฐบาลแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่

  • ตั๋วเงินคลัง
  • พันธบัตรรัฐบาลแบบอัตราดอกเบี้ยคงที่
  • พันธบัตรออมทรัพย์ (Saving Bond)
  • พันธบัตรรัฐบาลชดเชยเงินเฟ้อ
  • พันธบัตรรัฐบาลอัตราดอกเบี้ยลอยตัว (Floating Rate Bond)

ทั้งนี้ พันธบัตรรัฐบาลแต่ละประเภทย่อมมีจุดเด่นที่แตกต่างกันออกไป เช่น รูปแบบการได้รับผลตอบแทน, ระยะครบกำหนดไถ่ถอน หรือรูปแบบอัตราดอกเบี้ยที่ได้รับ เป็นต้น ดังนั้นแล้ว นักลงทุนควรศึกษารายละเอียดทุกครั้งก่อนตัดสินใจลงทุนครับ

จุดเด่นของพันธบัตรรัฐบาล

  • ความเสี่ยงต่ำ เนื่องจากออกโดยภาครัฐบาล นักลงทุนจะได้รับการชำระเงินต้นและดอกเบี้ยครบอย่างแน่นอน ซึ่งแตกต่างจากหุ้นกู้ที่มีโอกาสผิดนัดชำระได้
  • ผลตอบแทนคงที่ โดยนักลงทุนจะได้รับดอกเบี้ยอย่างสม่ำเสมอตลอดระยะเวลาที่ถือครองพันธบัตร
  • ใช้ต้นทุนในการลงทุนน้อย โดยจะมีขั้นต่ำประมาณ 1,000 บาท หรือ 10,000 บาทต่อหน่วย 

ความน่าสนใจของการลงทุน

พันธบัตรรัฐบาลถือว่ามีความน่าสนใจในการลงทุนช่วงเงินฝืดเป็นอย่างมาก ด้วยจุดเด่นอย่างความเสี่ยงต่ำ และผลตอบแทนที่มั่นคงและคงที่ครับ แต่อย่างไรก็ตาม พันธบัตรรัฐบาลก็มีข้อจำกัดที่ควรนำมาพิจารณาก่อน อย่างเช่น ผลตอบแทนที่ได้รับนั้นค่อนข้างน้อย เมื่อเทียบกับสินทรัพย์อื่น ๆ สภาพคล่องในการซื้อขายในตลาดรองต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อมีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยจะส่งผลให้ราคาของพันธบัตรที่นักลงทุนถืออยู่ลดลงและยากที่จะซื้อขาย นอกจากนี้ ยังไม่เหมาะกับการลงทุนเพื่อหาผลกำไรในระยะสั้นครับ

ลงทุนกับกองทุนตราสารหนี้ในภาวะเงินฝืด

ลงทุนกับกองทุนตราสารหนี้ในภาวะเงินฝืด
เงินฝืดคืออะไร? แนะนำสินทรัพย์ปลอดภัยน่าลงทุนช่วงเงินฝืด 9

กองทุนตราสารหนี้ (Fund Bond) คือ การลงทุนในกองทุนรวมกลุ่มสินทรัพย์ประเภทตราสารหนี้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น พันธบัตรรัฐบาล, ตั๋วแลกเงิน, ตั๋วเงินคลัง หรือแม้แต่หุ้นกู้ภาคเอกชน โดยจะรวบรวมเงินจากกลุ่มนักลงทุนไปลงทุนในตราสารต่าง ๆ ตามที่นโยบายของกองทุนกำหนด ซึ่งจะช่วยกระจายความเสี่ยง เหมาะกับการลงทุนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

จุดเด่นของกองทุนตราสารหนี้

  • กระจายความเสี่ยงได้ดี ซึ่งถือเป็นจุดเด่นของกองทุน เนื่องจากมีการลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลาย
  • ความเสี่ยงต่ำ เมื่อเทียบกับกองทุนรวมประเภทอื่น ๆ เนื่องจากตราสารหนี้เป็นสินทรัพย์ที่การันตีผลตอบแทนในรูปแบบอัตราดอกเบี้ย
  • ใช้ต้นทุนต่ำ โดยปกติแล้วสามารถเริ่มต้นลงทุนได้ด้วยเงินเพียง 1 บาท
  • สภาพคล่องสูง สามารถซื้อขายได้ง่ายกว่าพันธบัตรรัฐบาล
  • ได้รับการบริหารจัดการกองทุนโดยมืออาชีพ เหมาะกับประชาชนทั่วไปหรือนักลงทุนที่ไม่มีเวลา

ความน่าสนใจของการลงทุน

สำหรับการลงทุนในกองทุนรวมตราสารหนี้ ถือเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนมือใหม่หรือประชาชนทั่วไป ด้วยจุดเด่น คือ ใช้ต้นทุนในการลงทุนที่น้อย และได้รับการบริหารจัดการกองทุนโดยมืออาชีพ ซึ่งเหมาะกับมือใหม่เป็นอย่างมาก นอกจากนี้ยังมีสภาพคล่องในการซื้อขายที่สูง และกระจายความเสี่ยงได้ดีกว่าการลงทุนในสินทรัพย์อย่างพันธบัตรรัฐบาล แต่อย่างไรก็ตาม การลงทุนในกองทุนรวมตราสารหนี้ก็มีความเสี่ยงด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น ความเสี่ยงที่อาจจะมากกว่าการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลเพียงอย่างเดียว เนื่องจากมีการกระจายการลงทุนไปยังหุ้นกู้ด้วย ซึ่งอาจได้รับความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ในช่วงที่มีภาวะเงินฝืดครับ

ลงทุนกับทองคำในภาวะเงินฝืด

ลงทุนกับทองคำในภาวะเงินฝืด
เงินฝืดคืออะไร? แนะนำสินทรัพย์ปลอดภัยน่าลงทุนช่วงเงินฝืด 10

ทองคำ (Gold) ถือเป็นสินทรัพย์ที่มีความปลอดภัยสูง เนื่องจากทองคำเป็นสินทรัพย์ที่สามารถรักษามูลค่าของตัวเองได้เป็นอย่างดี มีจำนวนจำกัด ส่งผลให้ทองคำเป็นที่ต้องการและมีสภาพคล่องในการซื้อขายที่สูง จึงเหมาะเป็นอย่างมากหากลงทุนในช่วงที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจหรือในช่วงภาวะเงินฝืด และมีช่องทางการลงทุนที่หลากหลายสำหรับการลงทุนทองคำ ยกตัวอย่างเช่น

จุดเด่นของทองคำ

  • เป็นสินทรัพย์ปลอดภัย สามารถรักษามูลค่าในตนเองได้
  • สภาพคล่องในการซื้อขายสูง แม้ว่าจะอยู่ช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ
  • ผลตอบแทนดี ความต้องการสูง
  • ไม่มีความเสี่ยงด้านเครดิตเหมือนกับพันธบัตรรัฐบาล 
  • รูปแบบการลงทุนที่หลากหลาย 
  • ไม่มีข้อผูกมัด สามารถถือครองสินทรัพย์ได้โดยไม่มีวันหมดอายุ

ความน่าสนใจของการลงทุน

สำหรับการลงทุนทองคำในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจถือเป็นอีกหนึ่งทางออก และทางเลือกที่น่าสนใจ สำหรับนักลงทุนเป็นอย่างมาก เนื่องจากทองคำถือเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย มีสภาพคล่องในการซื้อขายสูง และให้ผลตอบแทนดีเมื่อเทียบกับพันธบัตรและกองทุนตราสารหนี้ แต่อย่างไรก็ตาม การลงทุนทองคำย่อมมีความเสี่ยงที่สูงกว่าการลงทุนกองทุนตราสารหนี้และพันธบัตร และมีความเสี่ยงในกรณีที่เศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัว เนื่องจากนักลงทุนจะเริ่มย้ายเงินออกจากการลงทุนทองคำไปลงทุนสินทรัพย์ประเภทอื่น ๆ แทน ส่งผลให้ราคาทองคำร่วงต่ำลงครับ

ผลกระทบของเงินฝืดมีอะไรบ้าง

  • อัตราการว่างงานภายในประเทศเพิ่มสูงขึ้น
  • การผลิตสินค้าและการให้บริการลดลง
  • ภาระหนี้สินสูงขึ้น รายได้ลดลง แต่อัตราดอกเบี้ยยังคงเดิม
  • รายได้และผลกำไรของกลุ่มบริษัทลดลง  
  • เศรษฐกิจชะลอตัวลง และอาจนำไปสู่สภาวะเศรษฐกิจแบบถดถอย

แนวทางการแก้ไขปัญหาเงินฝืด

  • ธนาคารกลางปรับลดอัตราดอกเบี้ย เร่งให้ประชาชนกล้าจับจ่ายใช้สอย
  • รัฐบาลมีการเพิ่มนโยบายหรือสนับสนุนการใช้จ่ายของประชาชน เช่น Digital Wallet
  • รัฐบาลมีนโยบายปรับลดการเก็บภาษี
  • เพิ่มปริมาณการหมุนเวียนของเงินในระบบเศรษฐกิจ เช่น การรับซื้อพันธบัตรและตราสารหนี้จากทั้งภาครัฐและภาคเอกชน

เงินเฟ้อและเงินฝืดแตกต่างกันอย่างไร

เงินเฟ้อและเงินฝืดมีข้อแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดคือ ราคาของสินค้าและบริการ ณ ช่วงเวลานั้น อาทิเช่น หากช่วงเวลานั้นราคาสินค้าและบริการมีการปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องเราจะเรียกว่า “เงินฝืด” แต่ถ้าหากว่า ช่วงเวลานั้นราคาสินค้าและบริการมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเราจะเรียกว่า “เงินเฟ้อ” โดยทั้งสองสาเหตุเกิดขึ้นจากอุปสงค์และอุปทานที่มีการปรับเพิ่มขึ้นและลดลงครับ 

เงินฝืด (Deflation) คือ สภาวะของเศรษฐกิจที่ระดับราคาสินค้าและบริการลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยมีสาเหตุมาจากอุปสงค์ของผู้บริโภคลดลง อันเนื่องมาจากความกังวลของผู้บริโภคที่มีต่อเศรษฐกิจ ณ ช่วงเวลานั้น ส่งผลให้ผู้บริโภคเลือกที่จะเก็บเงินไว้แทน ในด้านของผู้ผลิตมีการปรับลดราคาของสินค้า ลดกำลังการผลิต เพื่อให้เป็นไปตามอุปสงค์ของผู้บริโภค ซึ่งมีผลให้อัตราการจ้างงานและรายได้ของประชาชนลดลง ดังนั้นแล้ว หากต้องเผชิญกับภาวะเงินฝืด การมองหาช่องทางปลอดภัยให้กับทรัพย์สินและเป็นช่องทางสำหรับการหา Passive Income จึงเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งการลงทุนที่น่าสนใจและเหมาะสำหรับนักลงทุนมือใหม่ มีดังนี้ครับ

  • พันธบัตรรัฐบาล
  • กองทุนตราสารหนี้
  • ทองคำ

แต่อย่างไรก็ตาม ทุกการลงทุนย่อมมีความเสี่ยง นักลงทุนจะต้องไม่ลืมที่จะศึกษารายละเอียดของการลงทุนให้ละเอียดก่อนตัดสินใจลงทุน เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับนักลงทุน และเพื่อเพิ่มโอกาสในการทำกำไรให้กับนักลงทุนในช่วงที่เศรษฐกิจเกิดภาวะเงินฝืดครับ


อ่านบทความเพิ่มเติม: Knowledge

อ่านรีวิวโบรกเกอร์อื่น ๆ ได้ที่: Review Broker

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติม: News

Table of Contents
TOP FOREX BROKERS
1
5/5
IUX
5/5
2
3/5
IC Markets
IC Markets-top-forex-brokers
IC Markets
4/5
3
4/5
FXGT.com
FXGT.com
4/5
4
3/5
Hantec Markets
Hantec Markets
3/5
5
4/5
Eightcap
Eightcap
3/5

การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

– Advertisement –

การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

FOLLOW US
บทความที่เกี่ยวข้อง

– Advertisement –