Stadia อนาคตของสตรีมมิ่งเกมจาก Google ปิดตัวแล้ววันนี้!
หลังจากที่ Stadia ได้ถูกเปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่ที่งาน Game Developers Conference ในปี 2019 โดยภายในงานเป็นมหกรรมไอทีที่ได้รวบรวมเหล่านักพัฒนาเกมไว้มากมาย ซึ่ง Stadia ก็เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่เหล่านักลงทุนน้อยใหญ่ต่างพากันจับตามอง และคาดการณว่าจะเป็นสุดยอดเทคโนโลยียุคใหม่ของอุตสาหกรรมเกม สุดท้ายผลลัพธ์กลับไม่เป็นดั่งใจฝัน เมื่อพี่ใหญ่แห่งบริษัทเทคหันมาทำเกม แต่ไปไม่รอด…
ทำความรู้จัก Stadia คลาวด์เกมมิ่งจาก Google
Stadia เคยเป็นโปรดักส์ที่ทาง Google ผลิตขึ้นมา เพื่อเจาะตลาดเกมแข่งกับค่ายอื่น ๆ ด้วยข้อมูลและศักยภาพที่บริษัทมีทำให้โปรดักต์นี้ได้รับกระแสตอบรับที่ดีมากในตอนแรก โดยหลักการใช้งานเป็นบริการเล่นเกมผ่านคลาวด์ของ Google ซึ่งผู้เล่นไม่จำเป็นต้องโหลดเกม หรือมีเครื่องคอนโซล ใช้เพียงอินเทอร์เน็ต อีกทั้งยังรองรับการใช้งานทั้งบนคอมพิวเตอร์, แทปเล็ต และสมาร์ทโฟน
แนวคิดของคลาวด์เกมมิ่งจะคล้ายกับแพลทฟอร์มของ Netflix ที่เราไม่จำเป็นต้องดูหนังผ่านซีดีหรือวีดิโอ แต่เปลี่ยนมาเป็นดูผ่านแพลตฟอร์มแทน โดยเสียค่าใช้จ่ายเป็นรายเดือน เพื่อสมัครสมาชิกเพียงเดือนละ 9.99 ดอลลาร์ และจะได้ความละเอียดแบบ 4K แต่หากเล่นฟรีจะมีความละเอียดจำกัดอยู่ที่ 1080p เท่านั้น อีกทั้ง ผู้ใช้จะมีตัวเลือกในการเล่นเกมผ่าน YouTube อีกด้วย
ด้านของรายชื่อเกมที่สามารถเล่นได้ในตัวโปรดักส์มาจากค่ายดังต่าง ๆ หลายค่าย เช่น Square Enix, Ubisoft, EA, Capcom และ Rockstar นอกจากนี้ยังมีประกาศจากทางค่ายว่า Stadia มีเกมครบ 100 เกมไปเมื่อปีที่แล้ว
เมื่อฝันไกล แต่ Stadia ไปต่อไหว!
ธุรกิจนี้ได้ประกาศปิดตัวลง แต่ผู้เล่นยังสามารถเล่นได้จนถึงวันที่ 18 ม. روليت ค. ปี 2023 และ Google คาดว่าจะคืนเงินให้ครบได้กลางเดือนมกราคม ปี 2023 เช่นกัน โดยสาเหตุมาจากจำนวนผู้ใช้ที่น้อยราย จนบริษัทแบกรับรายจ่ายไม่ไหวจนทำให้ตัดสินใจจบธุรกิจลงในที่สุด ซึ่งข่าวนี้ช็อควงการเกมในสหรัฐฯ เป็นอย่างมาก แม้แต่นักพัฒนาเกมก็ตกใจไปตาม ๆ กัน แม้ว่า Stadia จะมีแบ็คอัพใหญ่อย่าง Google, ข้อมูลผู้ใช้งานที่หลากหลาย, เทคโนโลยีทันสมัย และรู้ความต้องการของลูกค้า แต่ก็ไม่สามารถตีตลาดในอุตสาหกรรมเกมได้ ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นบทเรียนครั้งใหญ่ของ Google เลยทีเดียว จากกรณีศึกษานี้ทำให้นักวิเคราะห์คาดการณ์ถึงสาเหตุที่ทำให้ Stadia พัง
ประเด็นแรก การเล่นเกมใช่ว่าจะเล่นได้ทุกที่เสมอไป ซึ่งทาง Stadia ตั้งใจออกแบบให้เป็นอย่างนั้น โดยทุกคนสามารถเล่นเกมได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด เนื่องจากรองรับสมาร์ทโฟน แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า บางเกมการเล่นผ่านหน้าจอโทรศัพท์เป็นสิ่งที่ไม่สะดวกนัก แม้ว่าจะมีคอนโทรลเลอร์ที่จะมาช่วยลดปัญหา Input Lag ก็ตาม
ประเด็นต่อมา จากเปิดตัวในครั้งแรกของ Stadia ซึ่งปกติแล้วโปรดักส์ของ Google นั้นจะเปิดตัวมาอย่างว่างเปล่า และค่อย ๆ พัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ แต่ครั้งนี้ไม่เหมือนกัน เพราะ Google ประกาศเปิดตัว Stadia อย่างยิ่งใหญ่ พร้อมฟีเจอร์ที่จัดหนักจัดเต็ม แต่เมื่อผู้เล่นได้ทดลองใช้จริงกลับไม่เป็นไปตามหวัง อีกทั้ง เกมบางเกมก็เคยเล่นกันอยู่แล้ว ด้วยสาเหตุนี้จึงไม่ได้รับความประทับใจจากผู้เล่นมากนัก
เมื่อกล่าวถึงเกมแล้ว ประเด็นสุดท้ายคงหนีไม่พ้นเรื่องปริมาณเกมและการร่วมมือจากค่ายต่าง ๆ ในการเปิดตัวครั้งแรกทาง Stadia ไม่มีการประกาศผลตอบแทนที่ค่ายเกมแต่ละค่ายจะได้รับอย่างชัดเจน จุดนี้อาจทำให้ค่ายเกมสงสัยว่า ได้รับเงินค่าตอบแทนผลงานอย่างไร? ก่อให้เกิดความล่าช้าในการให้บริการ ซึ่งส่งผลไปถึงผู้ใช้ในอนาคต
และประเด็นสุดท้าย Stadia เหมือนเอาเงินไปลงผิดที่ กล่าวคือ ใช้เงินมากมายไปกับการเอาเกมใหญ่ ๆ มาลงในแพลตฟอร์ม อย่างเทคทูกว่า 10 ล้านดอลลาร์ และอาจมีมากกว่านั้น ซึ่งจริง ๆ แล้ว หากทางค่ายนำเงินส่วนนี้ไปพัฒนาเกมใหม่ ๆ, ดีลเกมขนาดกลาง หรือสนองนักพัฒนา ทางค่ายจะได้จำนวนเกมที่มากขึ้น และมีลิขสิทธิ์ของตนเอง
อย่างไรก็ตาม ในเรื่องของธุรกิจไม่ว่าจะใหญ่ขนาดไหน แต่ทำในเรื่องที่ตนเองไม่ถนัดก็ทำให้สะดุดขาตนเองล้มได้ นอกจากนี้ ก่อนจะมีการประกาศปิดตัวไป ทาง Stadia ได้มีสถานการณ์ไม่สู้ดีมาสักพักใหญ่แล้ว โดยมีข่าวลือถึงการปิดตัวอยู่บ่อยครั้ง นอกจากนี้ มีการปิดสตูดิโอเกม และพนักงานลาออกหลายคน แต่สำหรับในประเทศไทยคงยังไม่มีใครตามข่าวนี้มากนัก เนื่องจากไม่มีการเปิดใช้งานที่ไทย
อ่านบทความเพิ่มเติม: Knowledge
อ่านรีวิวโบรกเกอร์อื่น ๆ ได้ที่: Review Broker
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติม: News