Table of Contents
Table of Contents

วางแผนการเงินเมื่อมีสมรสเท่าเทียม สำหรับคู่รัก LGBTQ+

วางแผนการเงินเมื่อมีสมรสเท่าเทียม สำหรับคู่รัก LGBTQ+

ในวันที่ 22 มกราคม 2568 ที่จะถึงนี้ กฎหมายสมรสเท่าเทียมจะมีผลบังคับใช้แล้วในประเทศไทย ส่งผลให้คู่รัก LGBTQ+ เริ่มต้นวางแผนชีวิตคู่กันมากขึ้น ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่ไม่ควรมองข้ามสำหรับชีวิตคู่ คือ การวางแผนการเงิน สำหรับคู่รัก ในบทความนี้เราจะมาแนะนำช่องทางและการวางแผนการเงินสำหรับคู่รัก LGBTQ+ ครับ

——————–🐣——————–

สมรสเท่าเทียมคืออะไร คุ้มครองเรื่องอะไรบ้าง ?

สมรสเท่าเทียม หรือ พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม คือ สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่อนุญาตให้คู่รักเพศเดียวกันสามารถจดทะเบียนสมรสได้ถูกต้องตามกฎหมาย และได้รับสิทธิประโยชน์ตามที่กฎหมายรองรับทุกประการ โดยไม่มีการจำกัดหรือแบ่งแยกเพศ

โดย พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียมเคยเป็นร่างกฎหมายจากพรรคก้าวไกลที่เสนอยื่นร่างต่อสภาฯ ในปี 2563 ซึ่งปัจจุบัน พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียมจะเริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม 2568 เป็นต้นไปครับ  

สมรสเท่าเทียมให้สิทธิแก่คู่รักเพศเดียวกันในเรื่องอะไรบ้าง ?

กฎหมายสมรสเท่าเทียมในประเทศไทยมอบความคุ้มครองและสิทธิที่สำคัญให้กับคู่รัก LGBTQIA+ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านต่าง ๆ ดังนี้

  • สิทธิในการสมรส : บุคคลทุกเพศสภาพ [ไม่จำกัดเฉพาะเพศชาย-หญิง] สามารถจดทะเบียนสมรสได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย
  • สิทธิในการจัดการทรัพย์สิน : คู่สมรสมีสิทธิในการจัดการทรัพย์สินร่วมกัน อาทิเช่น การจัดการหรือแบ่งปันทรัพย์สินที่ได้จากการหาร่วมกัน เป็นต้น
  • สิทธิในการรับบุตรบุญธรรม : คู่รักสามารถเป็นผู้ปกครองแก่บุตรบุญธรรมร่วมกันได้ ซึ่งเป็นการรับรองสิทธิในการสร้างครอบครัว
  • สิทธิในการรักษาพยาบาล : คู่สมรสมีสิทธิในการลงนามยินยอมให้รักษาพยาบาลอีกฝ่ายในกรณีที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่สามารถตัดสินใจได้ 
  • สิทธิในการรับมรดก : หากคู่สมรสคนใดคนหนึ่งเสียชีวิต อีกฝ่ายจะได้รับสิทธิรับมรดกทั้งหมดโดยชอบธรรม
  • สิทธิประโยชน์ที่ควรได้รับจากรัฐ : คู่สมรสจะได้รับสิทธิและสวัสดิการจากรัฐ เช่น สิทธิประกันสังคมและการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล
  • สิทธิในการหย่าร้าง : คู่สมรสมีสิทธิในการฟ้องหย่าและเรียกร้องค่าเลี้ยงดูหรือสินสมรสเมื่อมีการแยกทาง 

พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม และ พ.ร.บ.คู่ชีวิต แตกต่างกันอย่างไร ?

พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม และ พ.ร.บ.คู่ชีวิต แตกต่างกันอย่างไร

ทุกคนอาจจะเคยได้ยินคำว่า พ.ร.บ.คู่ชีวิตเหมือนกันใช่ไหมครับ ถึงแม้ว่าทั้ง พ.ร.บ.คู่ชีวิต และ พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม จะถูกนำมาเพื่อสนับสนุนคู่รักเพศเดียวกัน แต่ก็มีจุดที่แตกต่างกัน ดังนี้ครับ

——————–🐣——————–

สมรสเท่าเทียมส่งผลต่อคู่รัก LGBTQ+ อย่างไรบ้าง ?

สมรสเท่าเทียมที่กำลังจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 22 มกราคม 2568 ย่อมส่งผลต่อคู่รัก LGBTQ+ อย่างแน่นอนครับ คู่รักหลายท่านอาจจะวางแผนในการจดทะเบียนสมรสกันมากขึ้น หรืออาจมีการวางแผนเพื่อรับบุตรบุญธรรม วางแผนการใช้ชีวิตในอนาคตอย่างจริงจัง ส่งผลให้การวางแผนด้านการเงินเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่จะต้องทำควบคู่กันไป เนื่องจาก พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียมได้ให้สิทธิในการจัดการทรัพย์สินร่วมสำหรับคู่สมรส ดังนั้นแล้ว พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียมจะส่งผลต่อการใช้ชีวิตของคู่รัก LGBTQ+ ในวัยทำงานอย่างแน่นอนครับ

คู่รัก LGBTQ+ วางแผนการเงินอย่างไร ในวันที่สมรสเท่าเทียมผ่าน

การวางแผนการเงินถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างมากสำหรับชีวิตคู่รัก นอกจากจะช่วยให้ชีวิตคู่มั่นคงและมีเป้าหมายร่วมกันแล้ว ยังช่วยคู่รักกลุ่ม LGBTQ+ สามารถรับมือกับสภาวะเศรษฐกิจ รวมถึงวางแผนเพื่อรับมือกับสิทธิทางกฎหมายที่ได้รับการคุ้มครองเพิ่มเติมจาก พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ดังนั้นแล้ว การวางแผนการเงินจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ควรจะทำเป็นอันดับแรกครับ

วางแผนการเงินด้วย : การเก็บเงินออมร่วมกัน

คู่รัก LGBTQ+ ควรวางแผนการเก็บเงินร่วมกันด้วยบัญชีคู่ครับ ซึ่งบัญชีคู่หมายถึง บัญชีเงินฝากสำหรับการเก็บเงินร่วมกัน ซึ่งสามารถเปิดได้ทั้งบัญชีแบบออมทรัพย์หรือบัญชีฝากประจำ ซึ่ง ณ ปัจจุบัน ธนาคารหลายแห่งได้รองรับคู่รัก LGBTQ+ ให้สามารถเปิดบัญชีคู่ร่วมกันได้แล้ว โดยบัญชีคู่มีทั้งหมด 2 ประเภทด้วยกันดังนี้ครับ

  • บัญชีคู่กรณี “และ” หมายถึง บัญชีที่คู่กรณีจำเป็นจะต้องรับรู้และมีการเซ็นยินยอมในทุกกิจกรรมทางการเงิน ยกเว้นการฝากเงินเพิ่มเข้าไปในบัญชี
  • บัญชีคู่กรณี “หรือ” หมายถึง บัญชีที่สามารถทำกิจกรรมหรือธุรกรรมทางการเงินได้เพียงคนใดคนหนึ่ง ยกเว้นตอนเปิดบัญชีและปิดบัญชีเท่านั้นที่จะต้องมีการเซ็นร่วมกันทั้งสองฝ่าย

วางแผนการเงินด้วย : การทำประกันสำหรับ LGBTQ+

ปัญหาสุขภาพถือเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ไม่ว่าใครก็ต้องประสบพบเจอ นอกจากจะทำให้สุขภาพของเราแย่ลงแล้ว ปัญหาด้านการเงินจากค่ารักษาพยาบาลก็จะตามมาด้วยเช่นกันครับ ซึ่งการทำประกันชีวิตถือเป็นอีกหนึ่งทางออกสำหรับปัญหาด้านการเงินที่ต้องเสียไปกับค่ารักษาพยาบาลและยังช่วยสร้างความมั่นคงให้กับชีวิตคู่ได้เช่นกันครับ นอกจากนี้ ประกันยังมีสิทธิประโยชน์สำหรับคู่รักที่ไม่ควรมองข้ามครับ 

แล้วคู่รัก LGBTQ+ สามารถทำประกันได้ไหม? คำตอบคือสามารถทำได้ครับ และสามารถได้รับการคุ้มครองทุกอย่างเหมือนปกติครับ โดยสามารถระบุ “คู่ชีวิต” เพื่อรับผลประโยชน์ในกรมธรรม์ได้

สิทธิประโยชน์สำหรับการทำประกัน อาทิเช่น 

  • ช่วยคุ้มครองทั้งโลกร้ายแรงและโรคทั่วไป
  • ช่วยลดหย่อนภาษี
  • ช่วยดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล
  • ได้รับสิทธิเทียบเท่ากับคู่รักปกติ

แนะนำประกันสุขภาพสำหรับคู่รัก LGBTQ+
✒️ ShieldLife จากเมืองไทยประกันชีวิต อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่
✒️ กรุงศรีประกันสะสมทรัพย์ เพื่อคุณและคนที่คุณรัก อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่
✒️ ประกันทีทีบี อีซี่ แคร์ พลัส อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่

วางแผนการเงินด้วย : การกู้ร่วม

สำหรับคู่รัก LGBTQ+ อาจมีการวางแผนสำหรับเรื่องของที่อยู่อาศัย ซึ่งปัจจุบันการกู้ร่วมถือเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่คู่รักหลายคนเลือกใช้สำหรับการซื้อบ้าน โดยการกู้ร่วม หมายถึง การร่วมเซ็นสัญญาเพื่อยื่นกู้ซื้อสินทรัพย์ชิ้นเดียวกัน ซึ่งในสมัยก่อนจะอนุญาตให้เฉพาะคู่สมรส ครอบครัว พี่น้อง หรือญาติสนิทเท่านั้น แต่ในปัจจุบัน การกู้ร่วมสามารถทำร่วมกันระหว่างคู่รัก LGBTQ+ แล้วครับ ซึ่งการกู้ร่วมเพื่อวางแผนซื้อบ้านมีประโยชน์ ดังนี้ครับ

  • กู้ง่ายขึ้น ได้วงเงินสำหรับการกู้มากขึ้น
  • ช่วยกันแบ่งเบาภาระหนี้สินระหว่างผู้กู้ร่วม ไม่ใช่การผลักภาระให้ผู้ถือหนี้เป็นใครคนใดคนหนึ่ง และช่วยลดความตึงเครียดภายในครอบครัวได้
  • ช่วยยืดหยุ่นเรื่องค่าใช้จ่ายได้มากขึ้น
  • ช่วยลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาท แต่จะต้องแบ่งกันตามจำนวนผู้กู้

วางแผนการเงินด้วย : การลงทุนในระยะยาว 

การลงทุนระยะยาวถือเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยสำหรับคู่รักหลายท่านเลยก็ว่าได้ เนื่องจากการลงทุนในระยะยาวจะช่วยเพิ่ม Passive Income ให้กับเหล่าคู่รัก LGBTQ+ ได้ นอกจากนี้ในเรื่องของการลงทุนไม่มีคำว่าเพศหรือสถานะเข้ามาเกี่ยวข้อง ทุกคนสามารถเริ่มต้นลงทุนได้ ซึ่งเราจะมาแนะนำการลงทุนระยะยาวที่น่าสนใจในหัวข้อนี้ครับ  

การลงทุนในระยะยาวด้วยกองทุนรวม

การลงทุนในระยะยาวด้วยกองทุนรวม ถือเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจและเหมาะสำหรับมือใหม่เป็นอย่างมาก โดยจุดเด่นคือการใช้เงินลงทุนเริ่มต้นที่ค่อนข้างต่ำ และมีการจัดการบริหารการลงทุนโดยผู้เชี่ยวชาญ ทำให้เราไม่จำเป็นจะต้องติดตามข่าวสารอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเหมาะสำหรับสไตล์ชีวิตคู่เป็นอย่างมาก และกองทุนรวมยังสามารถนำไปใช้ลดหย่อนภาษีได้ด้วยกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)

การลงทุนในระยะยาวด้วยอสังหาริมทรัพย์

การลงทุนในด้านอสังหาริมทรัพย์ ถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการมองหา Passive Income ได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวครับ เนื่องจากอสังหาริมทรัพย์ถือว่ามีความผันผวนที่ค่อนข้างต่ำ สามารถแบ่งประเภทในการลงทุนได้ เช่น

  • การลงทุนเพื่อซื้อ-ขายและเก็งกำไร
  • การลงทุนเพื่อปล่อยเช่าแบบรายวัน
  • การลงทุนเพื่อปล่อยเช่าแบบรายเดือน
  • การลงทุนเพื่อปล่อยเช่าแบบรายปี
  • การลงทุนเพื่อรีโนเวทแล้วขายต่อ

แต่การลงทุนในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์มีจุดที่อาจจะต้องระวังก่อนตัดสินใจลงทุนด้วยเช่นกันครับ อย่างแรกคือเงินเริ่มต้นสำหรับลงทุนถือว่าสูงมาก และต้องใช้เวลากว่าจะได้รับทุนคืน นอกจากนี้ อาจจะต้องคำนึงถึงปัจจัยภายนอกด้วย เช่น ทำเลที่ตั้ง ความต้องการของตลาด ณ ปัจจุบัน หรือราคาสำหรับการซ่อมบำรุงทั้งหมด เป็นต้นครับ

การลงทุนในระยะยาวด้วยการถือหุ้นปันผลดี

การเริ่มต้นลงทุนด้วยการถือหุ้นปันผลดี ถือเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ไม่ควรมองข้าม เนื่องจากการลงทุนในหุ้นปันผลดีถือว่าเป็นการลงทุนที่ได้รับผลตอบแทนที่มั่นคงในระยะยาว เป็นการสร้าง Passive Income ได้ดีไม่แพ้การลงทุนแบบกองทุนรวม แต่อาจจะต้องใช้ต้นทุนที่สูงกว่าและต้องมีความรู้เรื่องหุ้นติดตัวอยู่บ้าง โดยการลงทุนในหุ้นปันผลดีมีข้อดี ดังนี้ครับ

  • ช่วยสร้างกระแสเงินสดให้กับการเงินของครอบครัว สามารถนำเงินที่ได้ไปใช้เพื่อลงทุนต่อยอดหรือใช้ในกิจกรรมทางการเงินอื่น ๆ ได้
  • ความเสี่ยงต่ำ เนื่องจากหุ้นปันผลดีมักมาจากบริษัทที่มีความแข็งแกร่งทางการเงินที่สูงและผลการดำเนินงานที่มั่นคง

การเลือกหุ้นปันผลดี อาจจะต้องพิจารณาจากปัจจัยอื่นร่วมด้วย เช่น 

  • การตรวจสอบพื้นฐานของบริษัท โดยเลือกบริษัทที่มีพื้นฐานดี ผลประกอบการประจำปีสูง และมีประวัติการจ่ายเงินปันผลอย่างสม่ำเสมอ
  • คำนวณ Dividend Yield และ Dividend Payout Ratio เพื่อประเมินความสามารถในการจ่ายปันผลของบริษัท
  • วิเคราะห์แนวโน้มตลาด ประเมินความสามารถในการเติบโตของธุรกิจ

ในวันที่ 22 มกราคม 2568 ที่จะถึงนี้ พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียมจะมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ ส่งผลให้คู่รัก LGBTQ+ หลายท่าน สามารถวางแผนในการแต่งงานหรือวางแผนในการใช้ชีวิตที่จริงจังมากยิ่งขึ้น ซึ่งคู่รักหลายท่านควรที่จะวางแผนการเงิน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาที่อาจจะตามมาในอนาคต ซึ่งการวางแผนการเงินสามารถทำได้หลากหลายวิธี และในปัจจุบันการทำธุรกรรมทางการเงินได้มีการรับรองให้กลุ่ม LGBTQ+ สามารถดำเนินการได้เหมือนกับคนปกติทั่วไป 

แต่อย่างไรก็ตาม หากตัดสินใจที่จะเริ่มต้นลงทุนเพื่อสร้าง Passive Income ให้กับครอบครัว จะต้องไม่ลืมที่จะบริหารความเสี่ยง และวางแผนการเงินให้รัดกุม เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจตามมาในอนาคต 

สุดท้ายนี้ บทความนี้เป็นเพียงบทความเพื่อแนะนำช่องทางสำหรับการวางแผนการเงินเพื่อใช้สำหรับการศึกษาและประกอบการพิจารณาเท่านั้น ไม่ใช่บทความเพื่อการชักชวนการลงทุนแต่อย่างใด ทีมงาน Gotradehere หวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อคู่รัก LGBTQ+ ที่เข้ามาศึกษาครับ


อ่านบทความเพิ่มเติม: Knowledge

อ่านรีวิวโบรกเกอร์อื่น ๆ ได้ที่: Review Broker

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติม: News

Table of Contents
TOP FOREX BROKERS
1
5/5
IUX
5/5
2
3/5
IC Markets
IC Markets-top-forex-brokers
IC Markets
4/5
3
4/5
FXGT.com
FXGT.com
4/5
4
3/5
Hantec Markets
Hantec Markets
3/5
5
4/5
Eightcap
Eightcap
3/5

การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

– Advertisement –

การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

FOLLOW US
บทความที่เกี่ยวข้อง

– Advertisement –