ศึกชิงนายกประเทศไทยครั้งใหม่กำลังจะเกิดขึ้น เลือกตั้ง 2566 สำหรับใครที่ไม่ได้ลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้าไว้ สามารถไปใช้สิทธิ์ในวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 นี้ ซึ่งเป็นกำหนดการเลือกตั้งครั้งใหญ่ที่น่าจับตามองมากที่สุดของประเทศไทย เป็นวันที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะได้ออกไปใช้สิทธิ์ใช้เสียงของตนเองเลือกผู้สมัคร ส.ส. และเลือกพรรคที่ตนเองชอบได้อย่างเสรี โดยคำนึงจากนโยบายพรรคเลือกตั้ง 2566
วันนี้เราจึงทำการรวบรวม นโยบายการเงินของ 7 พรรคดัง ในการ “เลือกตั้ง 2566” (ข้อมูล ณ วันที่ 27 เม.ย. 2566) ซึ่งนโยบายการเงินเป็นสิ่งสำคัญที่เกี่ยวข้องกับปากท้องของประชาชนมากที่สุด รวมถึงสภาพเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้น ห้ามพลาด! เพราะมันเป็นสิทธิ์ที่คุณควรจะได้ และอย่าลืมออกไปใช้สิทธิ์ใช้เสียงของตนเองกันนะครับ
——————————🐣——————————-
รู้หรือไม่ ? นโยบายการเงินส่งผลต่อการลงทุนโดยตรง
นโยบายการเงิน คืออะไร ?
นโยบายการเงิน คือ การออกนโยบายโดยใช้เครื่องมือทางการเงินของธนาคารกลาง เช่น อัตราดอกเบี้ย, ปริมาณเงิน และอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อควบคุมปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ โดยจะแบ่งออกเป็นนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย และนโยบายการเงินแบบตึงตัว
นโยบายการเงินสำคัญอย่างไร ? สำหรับ เลือกตั้ง 2566
สาเหตุที่เราต้องให้ความสนใจกับนโยบายการเงินในการ เลือกตั้ง 2566 เนื่องจากนโนบายการเงินนั้นส่งผลต่อการลงทุนและตลาดทุนโดยตรง ซึ่งส่วนใหญ่แล้วตลาดลงทุนต่าง ๆ เช่น ตลาดหุ้น, กองทุนรวม, คริปโตฯ, ตราสารหนี้ หรือแม้แต่ตลาดฟอเร็กซ์ที่ได้รับความนิยมนั้น ล้วนได้รับอิทธิพลจากนโยบายการเงินของทางภาครัฐ เช่น การปรับขึ้นและลดของอัตราดอกเบี้ย สังเกตง่าย ๆ เมื่อรัฐเริ่มใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย มักจะทำให้นักลงทุนเพิ่มน้ำหนักในการลงทุนหุ้นมากขึ้น เพราะผลตอบแทนจากดอกเบี้ยเริ่มลดลง
นอกจากนี้ หากใครไม่ใช่นักลงทุน นโยบายการเงินก็ยังสำคัญมากเช่นกัน เนื่องจากนโยบายการเงินมีหน้าที่หลัก คือ รักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจ และควบคุมเงินเฟ้อ ซึ่ง “เงินเฟ้อ” เป็นวิกฤตที่ไม่ว่าประเทศใดก็ไม่อยากจะเจอ เพราะทำให้เงินของเรานั้นมีค่าลดลง รวมถึงของต่าง ๆ ก็มีราคาสูงขึ้นอีกด้วย
เลือกตั้ง 2566 คืออะไร ?
เลือกตั้ง 2566 คือ กระบวนการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เพื่อให้ได้มาซึ่งบุคคลเข้าไปทำหน้าที่ในการปกครองประเทศ โดยมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และอาจรวมถึงสมาชิกวุฒิสภาในรัฐธรรมนูญบางฉบับ ซึ่งมาจากการเลือกของประชาชน
- การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาถูกยกเลิกไปตามรัฐธรรมนูญปี 2560
- เลือกตั้ง 2566 ระดับท้องถิ่นนั้น ได้แก่ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร, นายกเมืองพัทยา, นายกองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น และสภา
ส่อง! นโยบายการเงินของ 7 พรรคดัง “เลือกตั้ง 2566” ศึกชิงนายกประเทศไทย
นโยบายเลือกตั้ง 2566 : พรรคภูมิใจไทย
นโยบายการเงินของพรรค
เงินกู้ฉุกเฉิน 50,000 บาท ไม่ต้องมีหลักทรัพย์ ไม่ต้องค้ำประกัน ผ่อนวันละ 150 ภายใน 365 วัน
เงื่อนไข
- คนไทยทุกคนที่บรรลุนิติภาวะอายุ 20 ปีขึ้นไป
วัตถุประสงค์
- เพื่อใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉินของชีวิตตัวเองและครอบครัว หรือใช้เป็นทุนประกอบอาชีพ
- เพื่อสร้างอาชีพ และรายได้ให้ตัวเอง
- เพื่อใช้เป็นเงินปิดวงจรหนี้นอกระบบของตัวเอง
หัวหน้าพรรค
อนุทิน ชาญวีรกูล
นโยบายเลือกตั้ง 2566 : พรรคเพื่อไทย
นโยบายการเงินของพรรค
เติมเงิน 10,000 บาท ผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล โดยใช้เฉพาะกับร้านค้าชุมชนและบริการที่ “อยู่ในรัศมี 4 กิโลเมตร”
เงื่อนไข
- คนไทยทุกคนที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไป จะได้กระเป๋าเงินดิจิทัล (Digital Wallet)
- กระเป๋าเงินดิจิทัลจะมีอายุการใช้งาน 6 เดือนเท่านั้น
- ไม่สามารถซื้อสิ่งอบายมุขโดยเฉพาะ ยาเสพติดและการพนัน และไม่สามารถซื้อของบนแพลตฟอร์มออนไลน์ได้
- เงินดิจิทัลนี้จะใช้จ่ายได้ เฉพาะกับร้านค้าชุมชนและบริการที่อยู่ในรัศมี 4 กิโลเมตร
วัตถุประสงค์
- เพื่อเป็นการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานทางการเงิน เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับเศรษฐกิจดิจิทัลในระยะยาว
- เพื่อนำประเทศเข้าสู่การเป็นศูนย์กลางของ FinTech
- ทุกบาททุกสตางค์ที่ใช้จ่ายไปจะหมุนเวียนเข้ามาเป็นภาษีของรัฐบาล เพื่อยกระดับชีวิตของประชาชน
หัวหน้าพรรค
ชลน่าน ศรีแก้ว
นโยบายเลือกตั้ง 2566 : พรรคก้าวไกล
เงื่อนไข
- การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจะเป็นไปตามค่าครองชีพ และการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้สอดคล้องกับอัตราเงินเฟ้อและดัชนีค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นทุกปีจนถึงปัจจุบัน ตั้งแต่สมัยที่ค่าแรง 300 บาทต่อวัน ถูกประกาศใช้เมื่อปี 2554
- เพื่อแบ่งเบาภาระค่าแรงที่สูงขึ้นสำหรับ SME
- เพื่อให้แรงงานได้ร่วมแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรมจากการเติบโตของเศรษฐกิจ
- เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถวางแผนธุรกิจของตัวเองในแต่ละปีได้แม่นยำมากขึ้น
หัวหน้าพรรค
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์
นโยบายเลือกตั้ง 2566 : พรรครวมไทยสร้างชาติ
นโยบายการเงินของพรรค
เพิ่มสิทธิบัตรสวัสดิการพลัสเป็น 1,000 บาทต่อเดือน และกู้ฉุกเฉินได้อีก 10,000 บาทต่อคน
เงื่อนไข
- ซื้อสินค้าได้เฉพาะร้านธงฟ้า
- ใช้บัตรประชาชนเป็น Digital Wallet
- กู้เงินกับธนาคารออมสิน
วัตถุประสงค์
- เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย
- เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ สังคม และสร้างโอกาสที่เท่าเทียม
- เพื่อยกระดับชีวิตให้แก่ประชาชน
หัวหน้าพรรค
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นโยบายเลือกตั้ง 2566 : พรรคพลังประชารัฐ
นโยบายการเงินของพรรค
เพิ่มคุณภาพชีวิตคนไทยทุกช่วงวัย ภายใต้แนวคิด ‘เกิดดี โตมั่นคง แก่ตัวลงสุขสบาย’
เงื่อนไข
- เงินเลี้ยงดูเด็กเล็ก 280,000 บาท/คน
- รายได้ไม่ถึง 500,000 บาท/ปี ไม่ต้องเสียภาษี
- เบื้ยผู้สูงอายุ 3,000-5,000 บาท/เดือน
วัตถุประสงค์
- เพื่อช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย และยกระดับชีวิตให้แก่ประชาชน
- เพื่อลดความเหลื่อมล้ำของสังคม
หัวหน้าพรรค
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ
นโยบายเลือกตั้ง 2566 : พรรคไทยสร้างไทย
เงื่อนไข
- จัดต้องกองทุนกู้ยืมเงินดอกเบี้ยต่ำ
- ลดค่าไฟให้ไม่เกิน 3.50 บาท/หน่วย
- รายได้ไม่ถึง 300,000 บาท/ปี ไม่ต้องเสียภาษี
วัตถุประสงค์
- เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ
- เพื่อปรับโครงสร้างค่าใช้จ่ายของประชาชน
หัวหน้าพรรค
คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์
นโยบายเลือกตั้ง 2566 : พรรคประชาธิปัตย์
เงื่อนไข
- การขอรับเงินจากกองทุนที่ตนเป็นสมาชิก ไม่เกินร้อยละ 30 ของเงินสะสม เงินสมทบ และผลประโยชน์ตอบแทนอื่นรายบุคคล
วัตถุประสงค์
- เพื่อเพิ่มโอกาสการมีบ้านเป็นของตนเอง โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่อยู่ในวัยเริ่มทํางาน และมีรายได้น้อย
- เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับชีวิต
หัวหน้าพรรค
จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์
——————————🐣——————————-
สรุป
บทความนี้เป็นเพียงการนำเสนอนโยบายการเงินเด่น ๆ ของแต่ละพรรคในการ เลือกตั้ง 2566 นี้ เพื่อประกอบการตัดสินใจในการใช้สิทธิเลือกตั้งของทุกคน ไม่ได้เป็นการเอนเอียงไปทางพรรคใดทั้งนั้น อย่างไรก็ตาม อย่าลืมเข้าคูหา ไปใช้สิทธิและเสียงของตนเอง เพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศกันนะครับ