Table of Contents
Table of Contents

Hard Fork คืออะไร ? และมีบทบาทอย่างไรในโลก คริปโต ?

Hard Fork คืออะไร

โลกในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลมากขึ้น ทำให้มีนวัตกรรมใหม่ ๆ เกิดขึ้นอยู่เสมอ โดยการพัฒนาฟีเจอร์จะช่วยให้เทคโนโลยีที่มีอยู่นั้นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่นเดียวกับในโลกของ คริปโต ซึ่งพัฒนาจะถูกเรียกว่า Hard Fork เปรียบเสมือนเราใช้โทรศัพท์อยู่เครื่องหนึ่ง และเมื่อมีการใช้งานเป็นระยะเวลานานก็เริ่มเกิดปัญหาประมวลผลช้า เราจึงต้องทำการล้างเครื่อง หรืออัปเกรดซอฟต์แวร์ ซึ่งเมื่อเราทำเช่นนั้นแล้วจะทำให้โทรศัพท์ของเราทำงานได้เร็วขึ้น และนั้นคือ การ Hard Fork โทรศัพท์นั่นเอง สำหรับบทความนี้เราจะขออธิบายเกี่ยวกับ การ Hard Fork คริปโต ให้เข้าใจมากขึ้น

Hard Fork คืออะไร ?

ต้องขออธิบายก่อนว่า คำว่า Hard Fork คือ คำศัพท์ที่ใช้ในกระบวนการของบล็อกเชนเท่านั้น ซึ่งเป็นเหมือนการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในโปรโตคอลของเครือข่ายบล็อกเชน หรือการอัปเดตซอฟต์แวร์ใหม่ รวมไปถึงการตั้งค่าระบบต่าง ๆ ของบล็อกเชน เพื่อลดความผิดพลาดที่เคยเกิดขึ้นให้ทำงาน โดยบ่อยครั้งมักจะนำไปสู่การแยกเชนอย่างถาวร เนื่องจากเวอร์ชั่นเก่าไม่สามารถทำงานร่วมกับเวอร์ชั่นใหม่ได้ และจะทำให้เกิดเหรียญใหม่ขึ้นมาจากกระบวนการนี้

Hard Fork คืออะไร

สาเหตุที่ทำให้เกิดการ Hard Fork

รับมือกับความเสี่ยงด้านความปลอดภัย

สาเหตุนี้จะใช้เมื่อนักพัฒนาต้องการทดสอบฟีเจอร์ใหม่ ๆ ก่อนนำไปใช้จริงบนเครือข่าย ดังนั้น จึงจำเป็นต้องแยกเครือข่ายออกเป็นเครือข่ายทดสอบ (Testnet) เนื่องจากหากทำการ Hard Fork ไปแล้ว จะไม่สามารถย้อนกลับคืนมาใช้งานแบบเดิมได้อีก

ความคิดเห็นที่ขัดแย้งกันระหว่างผู้ใช้ในเครือข่าย 

สำหรับข้อนี้จำเป็นต้องยกตัวอย่าง ซึ่งจะทำให้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้น เช่น Bitcoin (BTC) ที่ถูก Hard Fork ออกมาเป็น Bitcoin Cash (BCH) เนื่องจากผู้ใช้ส่วนหนึ่งต้องการขยายเครือข่าย เพื่อเพิ่มจำนวนการทำธุรกรรม และสามารถทำธุกรรมได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังมีค่าธรรมเนียมที่ถูกกว่า

เพิ่มฟังก์ชั่นการทำงาน

อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่า Hard Fork นั้นเป็นเหมือนการพัฒนาระบบให้ดีขึ้น ซึ่งมันก็คือ การเพิ่มฟังก์ชั่นสำหรับผู้ใช้ เพื่อให้ผู้ใช้ได้ใช้งานบนระบบที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ความแตกต่างระหว่าง Hard Fork กับ Soft Fork

Hard Fork

เกิดขึ้นในกรณีที่โค้ดเปลี่ยนไปจนรองรับบล็อกเวอร์ชันเก่าไม่ได้ ซึ่งทำให้บล็อกเชนแยกตัวออกเป็น 2 ฝ่าย ประกอบด้วยบล็อกเชนเดิมและบล็อกเชนใหม่ที่ทำตามคำสั่งของกฎชุดใหม่ ที่สำคัญการทำ Hard Fork จะก่อให้เกิดเป็นสกุลเงินดิจิทัลใหม่

Soft Fork

เป็นการอัปเดตซอฟแวร์เพียงเท่านั้น โดยจะสามารถเพิ่มในโค้ดได้เลย และที่สำคัญบล็อกเชนเดิมและบล็อกเชนใหม่สามารถทำงานร่วมกันได้

วิธีการ Hard Fork

คือ การเข้าไปแก้โค้ดในตัวบล็อกเชนเดิมในส่วนที่สามารถเข้ากันได้ เพื่อแยกระบบออกมา จากนั้นจะทำการตั้งชื่อ แล้วเปิดรันระบบจนกลายเป็นสกุลเงินดิจิทัลใหม่นั่นเอง

Hard Fork คืออะไร

เหตุการณ์ Hard Fork ที่ผ่านมา

Ethereum เคยโดนแฮ็กระบบ ทางนักพัฒนาจึงทำการ Hard Fork โดยการเขียนโค้ดใหม่ เพื่อปรับปรุงช่องโหว่ที่เกิดขึ้น และข้อมูลการเงินของลูกค้าก็ยังคงอยู่ สิ่งที่เกิดขึ้น คือ ผู้ใช้งานก็ยังคงมีเงินเหลือเหมือนเดิม แต่ได้ทำการเปลี่ยนระบบใหม่เรียบร้อยแล้ว

หลังจากนั้นมีนักพัฒนาบางกลุ่มแยกตัวออกมาพัฒนา Ethereum Classic (ETC) แต่ยังคงใช้ข้อมูลลูกค้าชุดเดิม ส่งผลให้ผู้ที่ถือเหรียญ ETH แบบเดิม ก็จะมี ETH แบบใหม่ด้วย

ข้อดีและข้อเสียของการ Hard Fork

ข้อดี Hard Fork

ช่วยแก้ไขช่องโหว่ และปัญหาต่าง ๆ ในระบบ ที่อาจโดนแฮ็กได้ อีกทั้งยังทำให้การทำงานของระบบมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และได้สร้างสกุลเงินดิจิทัลตัวใหม่ขึ้นอีกด้วย

ข้อเสีย Hard Fork

สกุลเงินดิจิทัลที่เกิดขึ้นใหม่ อาจทำให้เกิดความผันผวนในตลาด และส่งผลต่อราคาของเหรียญเดิมได้

อย่างไรก็ตาม ในโลกของคริปโตการทำ Hard Fork ถือเป็นการพัฒนา เพื่อให้ระบบสามารถทำงานได้ตอบโจทย์ผู้ใช้งานมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยเพิ่มความปลอดภัยจากการโดนแฮ็ก และสุดท้ายก็จะก่อให้เกิดสกุลเงินดิจิทัลขึ้นมา

Table of Contents
TOP FOREX BROKERS
1
5/5
IUX
5/5
2
3/5
IC Markets
IC Markets-top-forex-brokers
IC Markets
4/5
3
4/5
FXGT.com
FXGT.com
4/5
4
3/5
Hantec Markets
Hantec Markets
3/5
5
4/5
Eightcap
Eightcap
3/5

การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

– Advertisement –

การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

FOLLOW US
บทความที่เกี่ยวข้อง

– Advertisement –