Table of Contents
Table of Contents

Blockchain คือ อะไร ? เข้าใจง่ายในคลิกเดียว

Blockchain คือ

Blockchain หลายคนอาจได้ยินคำนี้ผ่านหูกันมานักต่อนักแล้ว ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่จะเข้ามาพลิกโฉมอีกหลายอุตสาหกรรมที่ยังมีตัวกลาง เช่น หากเราต้องการโอนที่ดิน เราก็ต้องมีทั้งโฉนดและไปทำธุรกรรมที่กรมที่ดินเท่านั้น หรือเราต้องการฝากเงินก็ต้องนำเงินไปฝากที่ธนาคาร โดยจะเห็นว่า ในปัจจุบันเราต้องพึ่งตัวกลางหรือเรียกว่า การรวมอำนาจ (Centralized) คือ องค์กรที่ได้รับการยอมรับในสังคม เพื่อทำธุรกรรมในเรื่องนั้น ๆ แต่ระบบตัวกลางก็ยังไม่ได้ตอบสนองผู้ใช้มากเท่าที่ควร เนื่องจากมีการทำงานที่ล่าช้า และเกิด Human Error หรือการผิดพลาดจากมนุษย์ในบางที ดังนั้น Blockchain จะเข้ามาแก้ปัญหาเหล่านี้

Blockchain คือ อะไร ?

Blockchain คือ การกระจายอำนาจ (Dentralized) ในการตรวจสอบ โดยเป็นการจัดเก็บข้อมูลรูปแบบใหม่ที่โลกของเราไม่เคยทำได้มาก่อน เนื่องจากทุกอย่างที่เราใช้กันในปัจจุบันเป็นการเก็บข้อมูลไว้ ณ ที่ใดที่หนึ่ง แต่ Blockchain จะทำการกระจายข้อมูลนั้นไปยังทุกคนที่อยู่ในระบบ ซึ่งทุกคนจะมีชุดข้อมูลอยู่ในกล่อง และกล่องนั้นจะต่อกันเป็นเชน เพื่ออำนวยความสะดวกต่อผู้ใช้ และยังมีการดำเนินงานที่รวดเร็ว อีกทั้งยังยากแก่การปลอมแปลง หรือถูกแฮ็กอีกด้วย

Blockchain คือ

หลักการทำงานของ Blockchain

อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้น Blockchain เป็นการเก็บข้อมูลแบบหนึ่งที่สามารถแชร์ไปยังทุกคนที่อยู่ในระบบได้เปรียบเสมือนห่วงโซ่ โดยเราสามารถที่จะทราบว่า ใครเป็นเจ้าของข้อมูลนั้นอย่างแท้จริง และเมื่อบล็อกของข้อมูลได้ถูกบันทึกไว้ใน Blockchain จะทำให้สามารถปลอมแปลงได้ยาก อีกทั้ง หากมีการเพิ่มข้อมูล ทุกคนในระบบจะสามารถเห็นและตรวจสอบได้ โดยสามารถรัน Algorithm เพื่อตรวจสอบ Transaction ซึ่ง Transaction ใหม่นี้จะได้รับอนุญาตก็ต่อเมื่อในเครือข่ายส่วนใหญ่เห็นด้วยว่ามันถูกต้อง


จุดแข็งและข้อจำกัดของบล็อกเชน Blockchain

จุดแข็งของ Blockchain

เนื่องจากเป็นการทำงานที่ต่อันเหมือนห่วงโซ่ ทำให้ระบบค่อนข้างมีความปลอดภัยสูง โดยหลักการของการยืนยันในการทำธุรกรรมจะให้ทุกคนในเครือข่ายเป็นผู้ยืนยันธุรกรรมนั้น ซึ่งผู้ที่เข้ามายืนยันจะได้รับ “ค่าธรรมเนียม” เป็นผลตอบแทน ส่งผลให้การโดนแฮ็กทำได้ยาก เนื่องจากยิ่งมีผู้เข้ามายืนยันธุรกรรมมากเท่าไร ข้อมูลก็จะปลอดภัยมากเท่านั้น อีกทั้ง Blockchain ยังเข้ามาช่วยประหยัดเวลาในการทำธุรกรรม เช่น สามารถโอนเงินข้ามพรมแดนได้ภายในไม่ถึงวินาที แตกต่างจากการโอนเงินผ่านธนาคารทั่วไปที่อาจต้องรอประมาณ 3-4 วัน

ข้อจำกัดของ Blockchain

อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า ยิ่งมีผู้เข้ามายืนยันธุรกรรมมากเท่าไร ข้อมูลก็จะปลอดภัยมากเท่านั้น แสดงว่า ถ้าหากมีผู้ใช้งานไม่มากพอก็อาจถูกแทรกแซงข้อมูลได้ และยังไม่ได้เป็นที่ยอมรับมากขนาดนั้นในระดับสากล นอกจากนี้ ผู้ใช้ยังต้องมีความรอบคอบสูง เนื่องจากการทำธุรกรรมต่าง ๆ จะมี Private Key ซึ่งหากทำหายก็ไม่มีใครสามารถช่วยได้ นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงข้อมูลใน Blockchain เป็นเรื่องที่ทำไม่ได้ ดังนั้น หากต้องการทำธุรกรรมใด ๆ ต้องใช้ความรอบคอบสูง


ตัวอย่างการประยุกต์ Blockchain มาใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ

การเงิน

ในระบบ Blockchain จะมีเทคโนโลยีที่ชื่อว่า คริปโตเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) ซึ่งจะเข้ามาช่วยส่งผ่านเงินกันด้วยระบบ Blockchain เป็นหลัก หรือการแลกเปลี่ยนเหรียญที่เรารู้จักกัน โดยจะมีค่าธรรมเนียมที่ต่ำ แต่ความเร็วสูง

พลังงาน

มีบริษัทพลังงานหลายบริษัทที่ใช้เทคโนโลยี Blockchain เพื่อสร้างแพลตฟอร์มการซื้อขายพลังงานระหว่างผู้ใช้โดยตรง อีกทั้งยังปรับปรุงการเข้าถึงพลังงานหมุนเวียนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

การขนส่งสินค้า

การขนส่งในปัจจุบันมักจะมีปัญหาเกี่ยวกับของเน่าเสีย ซึ่ง Blockchain จะเข้ามาช่วยทำให้รู้ว่า สินค้าได้เดินทางถึงที่ใดแล้ว มีวันผลิตและวันหมดอายุเมื่อไร ซึ่งการทำเช่นนี้จะช่วยป้องกันการเน่าเสียระหว่างทาง

อย่างไรก็ตาม Blockchain ถือเป็นนวัตกรรมใหม่ที่เข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาในหลายด้านที่เราต้องเจอในปัจจุบัน แต่ยังไม่ได้รับการยอมรับในระดับสากล ดังนั้น การใช้งานจำเป็นต้องศึกษาให้รอบคอบ และเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียที่เราจะได้รับ

Table of Contents
TOP FOREX BROKERS
1
5/5
IUX
5/5
2
3/5
IC Markets
IC Markets-top-forex-brokers
IC Markets
4/5
3
4/5
FXGT.com
FXGT.com
4/5
4
3/5
Hantec Markets
Hantec Markets
3/5
5
4/5
Eightcap
Eightcap
3/5

การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

– Advertisement –

การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

FOLLOW US
บทความที่เกี่ยวข้อง

– Advertisement –