EBITDA ถือได้ว่า เป็นตัวช่วยสำคัญที่นักลงทุนหลาย ๆ คน เลือกหยิบเข้ามาใช้ในการวิเคราะห์หรือประเมินบริษัทว่า มีกำไรหรือขาดทุนมากน้อยแค่ไหน ก่อนที่พวกเขาจะตัดสินใจซื้อหุ้นของกิจการนั้น ๆ ซึ่งดูเหมือน EBITDA จะเป็นสูตรคำนวณที่มีความสำคัญมาก
แต่รู้หรือไม่? นักลงทุนระดับโลกอย่าง วอร์เรน บัฟเฟตต์ ไม่ปลื้มการคำนวณนี้เท่าไหร่นัก อีกทั้งยังเตือนให้นักลงทุนระมัดระวังในการใช้ EBITDA อีกด้วย!
ในวันนี้ทีมงาน Gotradehere จะพาไปขยายความรู้เกี่ยวกับ EBITDA ว่าคืออะไร? ทำไมวอร์เรน บัฟเฟตต์ ถึงออกโรงเตือน และช่วยให้นักลงทุนได้รู้จักกับ EBITDA มากยิ่งขึ้น
EBITDA คืออะไร?
EBITDA คือ ตัวเลขที่ใช้วัดความเป็นไปได้ของการสร้างกำไรในองค์กร โดยเป็นกำไรจากการดำเนินงานของบริษัทที่เป็นส่วนของเงินสดจริง ๆ ซึ่ง EBITDA จะไม่คำนึงถึงต้นทุนทางการเงินอื่น ๆ เช่น ดอกเบี้ย, ภาษี และค่าเสื่อมสภาพ
Tip! EBITDA ถูกย่อมาจากคำเหล่านี้ ได้แก่
- Earning คือ กำไร
- Before คือ ก่อน
- Interest คือ ดอกเบี้ยจากการกู้ยืม
- Tax คือ ภาษี
- Depreciation คือ ค่าเสื่อมราคา
- Amortization คือ ค่าตัดจำหน่าย
เรียกได้ว่า EBITDA เป็นตัวช่วยให้นักลงทุนเปรียบเทียบบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน ซึ่งสามารถวิเคราะห์ความสามารถในการทำกำไรของกิจการอื่น ๆ ได้อย่างตรงไปตรงมา อีกทั้งยังสามารถประเมินได้ว่า บริษัทที่เข้ามาลงทุนนั้นมีโอกาสในการสร้างกำไรมากน้อยเท่าใดอีกด้วย
EBITDA คำนวณอย่างไร
ปกติแล้ว EBITDA สามารถคำนวณได้ 2 วิธี ได้แก่
1. อิงจากรายได้สุทธิ
EBITDA = รายได้สุทธิ+ภาษี+ดอกเบี้ยจ่าย+ค่าเสื่อม+ค่าตัดจำหน่าย
2. อิงจากรายได้ของการดำเนินการ
EBITDA = รายได้จากการดำเนินการ+ค่าเสื่อมและค่าตัดจำหน่าย
* ข้อสังเกต : การคำนวณ EBITDA ให้ดูการเปรียบเทียบค่าเสื่อมและค่าตัดจำหน่ายของบริษัทให้ดี หากบริษัททำ EBITDA ได้สูงกว่าค่าเสื่อมและค่าตัดจำหน่ายนั้น แสดงให้เห็นว่า บริษัทนั้น ๆ ใช้สินทรัพย์ในการทำธุรกิจได้อย่างคุ้มค่า
EBITDA Margin
สำหรับ EBITDA Margin เป็นอัตราส่วนที่บ่งบอกถึงความสามารถในการทำกำไรก่อนหักดอกเบี้ย, ภาษี รวมถึง ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย ซึ่งอัตราส่วนนี้มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะจะใช้ในการแสดงค่าใช้จ่ายในการดำเนินการขององค์กรที่สามารถสะท้อนได้ว่า ค่าใช้จ่ายเหล่านี้ถูกใช้ไปเท่าใด อีกทั้งยังสามารถวิเคราะห์เกี่ยวกับบริษัทยามเจอวิกฤตได้
การคำนวณของ EBITDA Margin สามารถคำนวณได้ ดังต่อไปนี้
- EBIT คือ กำไรก่อนหักดอกเบี้ยจ่ายและภาษี
- ค่าเสื่อมราคา คือ ค่าใช้จ่ายที่เสื่อมสภาพลงของสินทรัพย์ต่าง ๆ ในบริษัท เช่น โรงงานและเครื่องจักร เป็นต้น
- ค่าตัดจำหน่าย คือ ค่าใช้จ่ายที่หักจากการเสื่อมลงของสินค้าที่ไม่มีตัวตน เช่น ค่าโฆษณา และค่าลิขสิทธิ์ เป็นต้น
ตัวอย่างการคำนวณ EBITDA
บริษัท B มีการดำเนินกิจการที่สามารถสร้างรายได้ทั้งหมด 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีรายการของผลตอบแทน สามารถแบ่งออกได้ ดังต่อไปนี้
- ค่าเสื่อมและค่าตัดจำหน่ายทั้งหมด 10,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ
- ดอกเบี้ยจ่าย 5,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ
- รายได้สุทธิ (หลังหักภาษีและดอกเบี้ยจ่าย 20%) 30,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ
- ภาษี 5,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ
- ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ 90,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ
หากต้องการหาค่า EBITDA ของบริษัท B สามารถคำนวณได้จากสูตรข้างต้น ดังนี้
EBITDA = 30,000,000+5,000,000+5,000,000+10,000,000
ดังนั้น ค่า EBITDA ของบริษัท B = 50,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ
ตัวอย่างการคำนวณ EBITDA Margin ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) : PTT
การคำนวณ EBITDA Margin ของหุ้น PTT ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ที่ดำเนินธุรกิจหลากหลายประเภท ได้แก่ 1.) ธุรกิจก๊าซธรรมชาติ 2.) ธุรกิจระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ และ 3.) ธุรกิจการค้าระหว่างประเทศธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐาน เป็นต้น
บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) : PTT มีงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จตั้งแต่ปี 2563 – 2566 ดังต่อไปนี้
ที่มา : SET
ค่า EBITDA Margin ของบริษัทปตท. จำกัด (มหาชน) : PTT ปี 2564-2566 สามารถคำนวณได้จากสูตร ดังต่อไปนี้
ค่า EBITDA Margin (แต่ละปี) | สูตร | ค่า EBITDA Margin |
2564 | 401,375.16*100/2,258,818.49 | 17.77% |
2565 | 418,160.76*100/3,367,202.70 | 12.42% |
งบ 6 เดือน 2566 | 205,744.65*100/1,534,754.74 | 13.41% |
อัตราส่วนทางการเงินของบริษัทปตท. จำกัด (มหาชน) : PTT ตั้งแต่ปี 2564 – 2566 มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
ที่มา : SET
จากที่กล่าวมา เห็นได้ว่า EBITDA Margin ค่อนข้างปรับตัวขึ้นลงไม่ค่อยสม่ำเสมอ เนื่องจากอัตรากำไรขั้นต้น (%) ตั้งแต่ปี 2564-2565 มีกำไรเพิ่มและลดลง ซึ่งเกิดจากสาเหตุที่มีค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารที่เพิ่มมากขึ้น อีกทั้งค่าเสื่อมและค่าตัดจำหน่ายที่เพิ่มขึ้นในปี 2565
ส่งผลให้ EBITDA Margin ปี 2565 มีแนวโน้มปรับลดลงตามไปด้วย อย่างไรก็ตาม ในไตรมาสแรกของปี 2566 มี EBITDA Margin และอัตรากำไรขั้นต่ำ (%) ปรับตัวเพิ่มขึ้น
ดังนั้น สิ่งที่นักลงทุนต้องวิเคราะห์ต่อไป คือ ภาพรวมในปี 2566 ว่า EBITDA Margin ของบริษัทปตท. จำกัด (มหาชน) : PTT จะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในงบประจำปีได้จริงหรือไม่ ซึ่งนักลงทุนจะต้องประเมินถึงความคุ้มค่าจากการลงทุนใน PTT ต่อไป
* หมายเหตุ : การยกตัวอย่างในบทความนี้เป็นเพียงการศึกษาเบื้องต้นเท่านั้น ไม่ได้มีเจตนาในการชี้นำการลงทุนแต่อย่างใด นักลงทุนควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนการลงทุน
EBIT และ EBITDA ต่างกันอย่างไร?
อัตราส่วน EBIT คือ อัตราส่วนที่บ่งบอกถึงความสามารถในการทำกำไรก่อนการหักดอกเบี้ยจ่ายและภาษี ส่วน EBITDA คือ อัตราส่วนที่บ่งบอกถึงความสามารถในการทำกำไรก่อนการหักดอกเบี้ยจ่าย, ภาษี, ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย
EBITDA Margin เท่าใดจึงจะเหมาะสม
ค่า EBITDA Margin ที่เหมาะสมนั้น สามารถสังเกตได้ตามรายละเอียด ดังต่อไปนี้
- EBITDA Margin > 0 เป็นบวก หมายความว่า บริษัทมีกำไรจากการดำเนินงาน
- EBITDA Margin < 0 เป็นลบ หมายความว่า บริษัทมีการขาดทุน
EBITDA ใช้งานได้อย่างไร?
EBITDA สามารถใช้งานได้ 2 หน้าที่ ดังต่อไปนี้
- สามารถนำมาประยุกต์กับการใช้ธุรกิจที่มีค่าเสื่อมสูงได้ เพราะเป็นการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีราคาสูงเป็นอย่างมาก เช่น โรงไฟฟ้าและโรงแรม เป็นต้น
- สามารถใช้เปรียบเทียบประสิทธิภาพในการดำเนินงานของบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกันได้ ซึ่งบริษัทใดที่มีค่า EBITDA สูง จะแสดงให้เห็นว่า เป็นบริษัทที่มีแนวโน้มเติบโต อย่างไรก็ตาม นักลงทุนจะต้องดูค่าเสื่อมควบคู่ไปด้วย เพราะหากมีค่าเสื่อมสูงมาก แต่กำไรไม่สูงตามก็ถือว่าบริษัทเริ่มเข้าขั้นวิกฤต
EBITDA มีประโยชน์อย่างไรกับนักลงทุน
- ค่าเสื่อมและค่าตัดจำหน่ายไม่ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่เป็นเงินสด อีกทั้งค่าเสื่อมและค่าตัดจำหน่ายของแต่ละบริษัทมีความแตกต่างกัน ทำให้นักลงทุนสามารถเห็นถึงกระแสเงินสดของกิจการนั้น ๆ ได้
- EBITDA จะมีประสิทธิภาพ หากเปรียบเทียบกับธุรกิจประเภทเดียวกันเท่านั้น
- สามารถใช้วัดความสามารถด้านบริหารของบริษัทได้ เพราะ EBITDA คือ กำไรก่อนดอกเบี้ย, ภาษี, ค่าเสื่อม และค่าตัดจำหน่าย ซึ่งเป็นการวัดถึงกำไรที่แท้จริงของบริษัท
ทำไมวอร์เรน บัฟเฟตต์ ถึงออกโรงเตือนเรื่อง EBITDA
“การนำตัวเลข EBITDA คือ การใช้ข้อมูลเกี่ยวกับมูลค่าที่เฟ้อเกินกว่าที่กิจการควรจะเป็น“
— วอร์เรน บัฟเฟตต์, ปี 2002
แม้ว่า EBITDA จะมีส่วนช่วยในการเปรียบเทียบความคุ้มค่าของแต่ละบริษัทได้ แต่นักลงทุนชื่อดังระดับโลก อย่าง วอร์เรน บัฟเฟตต์ กลับเอ่ยเตือนในการนำ EBITDA เข้ามาใช้ เพราะเขาให้ความคิดเห็นว่า ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายเช่นเดียวกัน เพียงแต่เป็นการแบ่งจ่ายเป็นงวดเท่านั้น
วอร์เรน บัฟเฟตต์ ให้เหตุผลว่า การที่ธุรกิจต้องเสียเงินสดไปเต็ม ๆ ทั้งก้อน เพื่อซื้อสินทรัพย์ ซึ่งสินทรัพย์นั้น ๆ ยังไม่ได้ให้ประโยชน์อะไรเลย เพราะนักลงทุนจำเป็นต้องดูค่าใช้จ่ายเหล่านี้ควบคู่กันไปด้วย เพื่อให้คะแนนได้ว่า บริษัทมีความเก่งมากน้อยแค่ไหน
โดยวอร์เรน บัฟเฟตต์ กล่าวเพิ่มเติมว่า เขาชื่นชอบบริษัทที่สามารถสร้างกระแสเงินสดได้ทันที เพราะแทนที่จะต้องจ่ายเงินหรือลงทุนไปก่อน แล้วค่อยได้รับเงินสดกลับมา สู้ไปให้ความสนใจกับบริษัทที่ไม่จำเป็นต้องลงทุนเยอะ แต่กลับมีกระแสเงินสดกลับมาอย่างต่อเนื่องจะดีกว่า
วอร์เรน บัฟเฟตต์ แสดงให้เห็นว่า ผู้บริหารในบริษัทนั้น ๆ สามารถสร้างยอดขายให้เติบโตได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีค่าเสื่อมและค่าตัดจำหน่ายที่เพิ่มมากขึ้นก็สามารถบริหารและดำเนินกิจการนั้น ๆ ได้
ดังนั้น นี่จึงเป็นเหตุผลให้วอร์เรน บัฟเฟตต์ ไม่ชื่นชอบค่า EBITDA ที่บรรดานักลงทุนนำมาวิเคราะห์ เพราะการนำตัวเลข EBITDA เข้ามาใช้เป็นมูลค่าที่เฟ้อเกินกว่าที่กิจการควรจะเป็นนั่นเอง
ข้อควรระวังของ EBITDA
- EBITDA สามารถปรับแต่งได้ โดยสามารถปรับตัวเลขดอกเบี้ยที่บริษัทจ่ายไป เมื่อรวมกับค่าเสื่อมและค่าตัดจำหน่ายแล้ว ทำให้รายได้ของบริษัทจะได้มากกว่ารายได้จริง
- การคำนวณ EBITDA มีโอกาสผิดพลาดได้
- EBITDA ไม่ได้เปลี่ยนแปลงเงินทุนหมุนเวียน เพราะบางบริษัทยังคงรักษาระดับการทำกำไรได้สูง แต่สภาพคล่องของบริษัทกลับต่ำลงก็สามารถเกิดขึ้นได้
คุณกำลังมองหาบทความล่าสุด อยู่หรือเปล่า?
10 หุ้นไทยมาแรง พื้นฐานดีปี 2023 ซื้อตัวไหนดี?
กองทุน RMF ตัวไหนดี 2566 ใช้ลดหย่อนภาษีได้จริงไหม?
Stochastic Oscillator คืออะไร? พร้อมอธิบายการใช้เทรดขั้นพื้นฐาน
สรุป EBITDA
EBITDA คือ ตัวเลขที่ใช้วัดการสร้างกำไรในองค์กร โดยเป็นส่วนของเงินสดที่หักก่อนดอกเบี้ยจ่าย และภาษี ซึ่งนักลงทุนมักคำนวณ EBITDA Margin ที่สามารถนำมาเปรียบเทียบบริษัทในอุตสาหกรรมเดียวกันได้ ก่อนการตัดสินใจลงทุน อีกทั้งยังสามารถวิเคราะห์ถึงความคุ้มค่าในการลงทุนในบริษัทนั้น ๆ หาก EBITDA Margin มีค่ามากกว่า 0 ก็แสดงว่า บริษัทมีกำไรจากการดำเนินงานนั่นเอง
อย่างไรก็ดี EBITDA ไม่ได้การันตีว่า คุณจะสามารถประเมินบริษัทได้ 100% เพราะข้อควรระวังเกี่ยวกับตัวเลขนี้ คือ การคำนวณมีโอกาสที่จะผิดพลาด รวมทั้งยังมีข้อจำกัดที่ถกเถียงกันในบรรดานักลงทุนหลายอย่าง ยกตัวอย่างเช่น การนำตัวเลข EBITDA เข้ามาใช้เป็นมูลค่าที่เฟ้อเกินกว่าที่กิจการควรจะเป็น
ดังนั้นแล้ว นักลงทุนควรที่จะพิจารณาปัจจัยอื่น ๆ ควบคู่ไปด้วย เพื่อให้ทราบว่า สิ่งที่คุณต้องการจะลงทุนนั้น มีความเหมาะสมและคุ้มค่าหรือไม่
ที่มา : SET
อ่านบทความเพิ่มเติม: Knowledge
อ่านรีวิวโบรกเกอร์อื่น ๆ ได้ที่: Review Broker
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติม: News