Table of Contents
Table of Contents

EPS คืออะไร? ตัวช่วยในการคำนวณกำไรต่อหุ้นที่นักลงทุนหุ้นต้องรู้!

EPS คืออะไร? ตัวช่วยในการคำนวณกำไรต่อหุ้นที่นักลงทุนหุ้นต้องรู้!

EPS หรือ Earnings Per Share ถือเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยสำหรับนักลงทุนในการเลือกซื้อหุ้น ถือเป็นอีกหนึ่งอัตราส่วนทางการเงิน (Financial Ratio) ที่ควรรู้และนำไปใช้จริง นอกจากจะเป็นประโยชน์ในด้านของการคัดเลือกหุ้นแล้วยังช่วยลดความเสี่ยงจากการลงทุนได้เช่นกัน แล้ว EPS คืออะไร? มีวิธีใช้อย่างไร? ทีมงาน Gotradehere ได้ทำการรวบรวมข้อมูลไว้ในบทความนี้เรียบร้อยแล้วครับ

———————————— 🐣 ————————————

🔖 รู้จักคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับ EPS 🔖

กำไรสุทธิ รายได้สุทธิหลักจากหักค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เช่น ต้นทุนการผลิต, ภาษี หรือดอกเบี้ย เป็นต้น
จำนวนหุ้นบริษัทที่ชำระแล้ว จำนวนหุ้นทั้งหมดที่บริษัทได้มีการออกจำหน่ายในตลาดหลักทรัพย์
อัตราส่วนทางการเงิน เครื่องมือวิเคราะห์ทางการเงินที่ใช้เปรียบเทียบตัวเลขต่าง ๆ ในงบการเงิน ใช้สำหรับการวิเคราะห์ความสามารถของบริษัทในด้านต่าง ๆ รวมถึงความเสี่ยง
EPS Growth Rateอัตราส่วนทางการเงินที่ใช้วัดระดับการเติบโตของกำไรต่อหุ้น (EPS) ในช่วงระยะเวลาที่กำหนด
P/E Ratio อัตราส่วนทางการเงินที่วัดความคุ้มค่าของราคาหุ้น โดยเปรียบเทียบจากราคาตลาดต่อหุ้นและกำไรสุทธิต่อหุ้น

———————————— 🐣 ————————————

EPS (Earnings Per Share) คืออะไร?

EPS (Earnings Per Share) คืออะไร?
EPS คืออะไร? ตัวช่วยในการคำนวณกำไรต่อหุ้นที่นักลงทุนหุ้นต้องรู้! 7

EPS ย่อมาจาก Earnings Per Share คือ อัตราส่วนทางการเงินที่จะเปรียบเทียบระหว่างกำไรสุทธิและจำนวนหุ้นที่บริษัทชำระแล้ว หรือเรียกง่าย ๆ ว่า “กำไรต่อหุ้น” นั่นเอง สำหรับ EPS จะช่วยให้นักลงทุนสามารถประเมินบริษัทว่ามีความสามารถในการทำกำไรได้มากน้อยขนาดไหน ซึ่งมีส่วนช่วยในการตัดสินใจในการเลือกลงทุนครับ

📌 วิธีการคำนวณและการตีความค่า EPS (Earnings Per Share)

สำหรับวิธีการคำนวณ EPS สามารถใช้สูตรการคำนวณดังนี้ 

วิธีการคำนวณและการตีความค่า EPS (Earnings Per Share)

โดยที่ 
กำไรสุทธิ หมายถึง ผลการดำเนินงานของบริษัทหลังจากหักค่าใช้จ่าย ดอกเบี้ยและภาษีเงินได้แล้ว
จำนวนหุ้นบริษัทชำระแล้ว หมายถึง จำนวนหุ้นทั้งหมดที่บริษัทได้มีการออกจำหน่ายในตลาดหลักทรัพย์

📌 การตีความค่า EPS (Earnings Per Share)

  • หากค่า EPS สูง หมายถึง บริษัทมีความสามารถในการทำกำไรสุทธิที่สูง 
  • หากค่า EPS ต่ำ หมายถึง บริษัทมีความสามารถในการทำกำไรสุทธิที่ต่ำ
  • หากค่า EPS ติดลบ (EPS < 0) หมายถึง บริษัทขาดทุนสุทธิ

📌 ยกตัวอย่างการคำนวณและการตีความ EPS (Earnings Per Share) 

บริษัทกำไรสุทธิจำนวนหุ้นบริษัทที่ชำระแล้วEPS
ABC250,0001,500166.66
DEF250,0002,000125
GHI100,000500200

** ข้อมูลบริษัทที่นำมาเปรียบเทียบกันจะต้องอยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกันเสมอ **

จากตารางการคำนวณค่า EPS สามารถตีความได้ดังนี้ครับ

  • บริษัท ABC มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 250,000 บาท และมีจำนวนหุ้นบริษัทที่ชำระแล้ว 1,500 หุ้นหมายความว่า นักลงทุนจะได้รับกำไรจากการถือหุ้น 166.66 บาท/ หุ้น 1 ตัว
  • บริษัท DEF มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 250,000 บาท และมีจำนวนหุ้นบริษัทที่ชำระแล้ว 2,000 หุ้นหมายความว่า นักลงทุนจะได้รับกำไรจากการถือหุ้น 125 บาท/ หุ้น 1 ตัว
  • บริษัท GHI มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 100,000 บาท และมีจำนวนหุ้นบริษัทที่ชำระแล้ว 500 หุ้น หมายความว่า นักลงทุนจะได้รับกำไรจากการถือหุ้น 200 บาท/ หุ้น 1 ตัว

จากตัวเลข EPS ของแต่ละบริษัทจะเห็นว่า แม้บริษัทจะมีกำไรสุทธิเท่ากันแต่จำนวนหุ้นที่ชำระแล้วมีจำนวนแตกต่างกันก็ส่งผลให้กำไรต่อหุ้นลดลงเช่นกัน ดังนั้นแล้ว EPS ไม่ได้บ่งบอกว่าหุ้นตัวใดน่าลงทุนกว่ากัน แต่ใช้เพื่อบอกถึงความสามารถในการทำกำไรของบริษัทในอุตสาหกรรมเดียวกันครับ

EPS (Earnings Per Share) ที่ดีมีลักษณะอย่างไร?

ค่า EPS ยิ่งสูงยิ่งดี เพราะมันแสดงให้เห็นว่า “บริษัทมีกำไรสุทธิที่สูง” ในทางกลับกัน หาก EPS ต่ำก็แสดงว่าบริษัททำกำไรได้ต่ำนั่นเอง แต่อย่างไรก็ตามค่า EPS ไม่สามารถใช้เพื่อเปรียบเทียบกับบริษัทในอุตสาหกรรมที่แตกต่างกันได้ นอกจากนี้ค่า EPS ใช้เพื่อแสดงกำไรสุทธิต่อหุ้นของบริษัทเพียงอย่างเดียว ไม่ได้บอกถึงความสามารถหรือศักยภาพในการเติบโตของบริษัทในอนาคต ซึ่งอาจมีผลต่อการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นในอนาคตครับ

ข้อดีและข้อจำกัดของการใช้ EPS (Earnings Per Share)

ข้อดีของการใช้ EPS

  • เป็นอัตราส่วนทางการเงินที่ใช้งานง่าย
  • ช่วยให้เห็นภาพรวมการทำกำไรของบริษัท
  • ใช้เปรียบเทียบความสามารถในการทำกำไรระหว่างบริษัทในอุตสาหกรรมเดียวกันได้
  • ใช้ประเมินราคาหุ้นด้วย P/E Ratio

ข้อจำกัดของการใช้ EPS

  • ไม่ได้สะท้อนให้เห็นถึงความเสี่ยงของบริษัท
  • ต้องอาศัยอัตราส่วนทางการเงินอื่น ๆ เข้ามาวิเคราะห์ร่วมเพื่อเพิ่มประสิทธิในการวิเคราะห์
  • ไม่สามารถใช้เพื่อเปรียบเทียบกับบริษัทในอุตสาหกรรมอื่นได้
  • ไม่ได้สะท้อนให้เห็นถึงความสามารถในการเติบโตของบริษัท

EPS (Earnings Per Share) กับ P/E Ratio ใช้ยังไง ?

สำหรับ P/E Ratio คือ อัตราส่วนทางการเงินที่วัดความคุ้มค่าของราคาหุ้น โดยเปรียบเทียบจากราคาตลาดต่อหุ้นและกำไรสุทธิต่อหุ้นซึ่งก็คือ EPS นั่นเอง สำหรับ P/E Ratio มีสูตรในการคำนวณดังนี้ครับ

P/E Ratio = ราคาต่อหุ้น / กำไรสุทธิต่อหุ้น

สำหรับ P/E Ratio จะช่วยให้นักลงทุนสามารถประเมินความคุ้มค่าของหุ้นที่ซื้อได้ นอกจากนี้ยังช่วยบอกว่าหุ้นที่เราซื้อนั้นถูกหรือแพงเกินไปไหมเมื่อเทียบกับกำไรที่บริษัททำได้ครับ

EPS Growth Rate คืออะไร? แตกต่างจาก EPS อย่างไร ? 

EPS Growth Rate หรือ Earnings Per Share Growth Rate คือ อัตราส่วนทางการเงินที่ใช้วัดระดับการเติบโตของกำไรต่อหุ้น (EPS) ในช่วงระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งจะช่วยให้นักลงทุนสามารถวิเคราะห์ความสามารถในการเติบโตของบริษัทและเปอร์เซ็นต์ของกำไรที่บริษัทได้รับมีการเพิ่มหรือลดลงมากน้อยเพียงใด โดยมีสูตรการคำนวณดังนี้ครับ

📌 สูตรและวิธีการคำนวณ EPS Growth Rate

สูตรและวิธีการคำนวณ EPS Growth Rate
EPS คืออะไร? ตัวช่วยในการคำนวณกำไรต่อหุ้นที่นักลงทุนหุ้นต้องรู้! 8

โดยที่ 
EPS หมายถึง อัตราส่วนทางการเงินที่ใช้วัด “กำไรสุทธิต่อหุ้น”
T หมายถึง ช่วงเวลาที่ต้องการนำมาคำนวณ
T-1 หมายถึง ช่วงเวลาก่อนหน้า 1 ช่วง นิยมใช้เป็นรายปีหรือรายไตรมาส

📌 วิธีการอ่านค่า EPS Growth Rate

  • หากค่า EPS สูง หมายถึง บริษัทมีอัตรากำไรสุทธิเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาก่อนหน้า แสดงว่านักลงทุนมีโอกาสได้รับผลตอบแทนต่อหุ้น “มากขึ้น” 
  • หากค่า EPS ต่ำ หมายถึง บริษัทมีอัตรากำไรสุทธิลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาก่อนหน้า แสดงว่านักลงทุนมีโอกาสได้รับผลตอบแทนต่อหุ้น “น้อยลง” 

📌 ตัวอย่างการคำนวณ EPS Growth Rate

ตัวอย่างการคำนวณ EPS Growth Rate ในปี 2023 ของบริษัท ABC

ปีEPS (บาท/หุ้น)
20224.5
20235.5

จากข้อมูลดังกล่าวสามารถคำนวณ EPS Growth Rate ได้ดังนี้

EPS Growth Rate = (5.5 – 4.5)/4.5 x 100 = 22.22% 

จากการคำนวณ EPS Growth Rate สามารถตีความหมายได้ว่า บริษัท ABC มีอัตราการเติบโตของกำไรต่อหุ้นในปี 2022 – 2023 อยู่ที่ 22.22% แสดงให้เห็นว่าบริษัทยังคงสามารถเติบโตต่อไปได้ครับ

วิธีการดูตัวเลข EPS บนเว็บไซต์ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

สำหรับวิธีการดูตัวเลข EPS บนหน้าเว็บไซต์ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สามารถทำได้ตามขั้นตอนดังนี้ครับ

  • เข้าไปที่เว็บไซต์ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) https://www.set.or.th/th/home 
  • ค้นหาชื่อหุ้นในแถบค้นหาด้านบน
  • คลิกที่ “งบการเงิน” หรือ “สรุปข้อสนเทศ บจ. (Factsheet)” เพื่อดูข้อมูลบริษัท
  • หรือตรวจสอบ EPS ได้โดยตรงที่ “ข้อมูลผลประกอบการสำคัญ” ซึ่งจะเป็นข้อมูลเฉลี่ยระหว่างปี
วิธีการดูตัวเลข EPS บนเว็บไซต์ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ขั้นที่ 1
EPS คืออะไร? ตัวช่วยในการคำนวณกำไรต่อหุ้นที่นักลงทุนหุ้นต้องรู้! 9
วิธีการดูตัวเลข EPS บนเว็บไซต์ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ขั้นที่ 2
EPS คืออะไร? ตัวช่วยในการคำนวณกำไรต่อหุ้นที่นักลงทุนหุ้นต้องรู้! 10
วิธีการดูตัวเลข EPS บนเว็บไซต์ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ขั้นที่ 3
EPS คืออะไร? ตัวช่วยในการคำนวณกำไรต่อหุ้นที่นักลงทุนหุ้นต้องรู้! 11

💡 สำหรับนักลงทุนมือใหม่ที่อยากเริ่มลงทุนหุ้นแต่ไม่รู้จะเริ่มยังไง?💡
สามารถอ่านคู่มือสำหรับการเริ่มต้นเทรดหุ้นได้ในบทความด้านล่างนี้เลยครับ
📗 มือใหม่อยากเริ่มเทรดหุ้นทำยังไง ? อ่านจบพร้อมเทรดแน่นอน! ฉบับ 2024 📗

EPS สูงดีไหม?

> EPS สูงถือว่าดี เนื่องจากค่า EPS สามารถวัดความสามารถในการทำกำไรของบริษัท ซึ่งมีส่วนช่วยให้นักลงทุนสามารถใช้เปรียบเทียบกับบริษัทในอุตสาหกรรมเดียวกันได้ครับ

EPS ย่อมาจากอะไร ?

> EPS ย่อมาจาก Earnings Per Share

ROE กับ EPS ต่างกันอย่างไร

> ROE คือ อัตราส่วนทางการเงินที่วัดความสามารถในการสร้างผลตอบแทนของหุ้น โดยใช้กำไรสุทธิและส่วนของผู้ถือหุ้น ซึ่งแตกต่างจาก EPS ที่ใช้จำนวนหุ้นที่ชำระแล้วในการหาค่าและใช้เพื่อวัดความสามารถในการทำกำไรสุทธิครับ

EPS คือ อัตราส่วนทางการเงินที่ใช้วัดกำไรผลตอบแทนจากการถือหุ้นหรือเรียกกันง่าย ๆ ว่า “กำไรต่อหุ้น” ซึ่งจะช่วยให้นักลงทุนสามารถวิเคราะห์และประเมินความสามารถในการทำกำไรของบริษัท ซึ่ง EPS ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ช่วยให้นักลงทุนสามารถวิเคราะห์หุ้นได้ดียิ่งขึ้น 

แต่อย่างไรก็ตาม EPS ยังมีข้อจำกัดในการใช้งานอยู่ คือ สามารถวิเคราะห์ได้เพียงบริษัทในอุตสาหกรรมเดียวกันเท่านั้น และข้อมูลที่ได้จาก EPS เป็นเพียงข้อมูลความสามารถในการทำกำไรเท่านั้น ไม่ได้วัดความสามารถในการเติบโตของบริษัท ดังนั้นแล้วนักลงทุนควรใช้อัตราส่วนทางการเงินอื่น ๆ ร่วมกับการวิเคราะห์กำไรต่อหุ้น EPS ครับ

⚠️ สุดท้ายนี้ทุกการลงทุนย่อมมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุนให้ละเอียดก่อนตัดสินใจลงทุนทุกครั้ง เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุน และบทความนี้เป็นเพียงการให้ความรู้ ไม่ใช่การแนะนำหรือชักชวนให้ลงทุนแต่อย่างใดครับ

อ่านบทความเพิ่มเติม: Knowledge

อ่านรีวิวโบรกเกอร์อื่น ๆ ได้ที่: Review Broker

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติม: News

Table of Contents
TOP FOREX BROKERS
1
5/5
IUX
5/5
2
3/5
IC Markets
IC Markets-top-forex-brokers
IC Markets
4/5
3
4/5
FXGT.com
FXGT.com
4/5
4
3/5
Hantec Markets
Hantec Markets
3/5
5
4/5
Eightcap
Eightcap
3/5

การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

– Advertisement –

การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

FOLLOW US
บทความที่เกี่ยวข้อง

– Advertisement –