วันที่ 6 ตุลาคม 2566 ที่ผ่านมา ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่คำสั่งของกรมสรรพากรเกี่ยวกับการเก็บภาษีรายได้ต่างประเทศ โดยมีรายละเอียดว่า ข้อบังคับนี้จะถูกบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป ทำเอานักลงทุนหลายคนเกิดความสงสัยว่า ควรจัดการรายได้จากต่างประเทศอย่างไร? ถึงจะไม่ต้องเสียภาษีหรือเสียภาษีให้น้อยที่สุด
วันนี้ทางทีมงาน Gotradehere จะพาทุกคนมาหาคำตอบว่า การเสียภาษีรายได้จากต่างประเทศ เตรียมพร้อมอะไรบ้าง? เริ่มปี 2567 นี้! เพื่อให้ทุกคนสามารถวางแผนและจัดการเสียภาษีให้ได้ประโยชน์สูงสุด! ไปหาคำตอบกันครับ
ภาษี คืออะไร?
ภาษี คือ ภาระที่ประชาชนจำเป็นต้องเสียให้แก่รัฐตามที่กฎหมายกำหนด โดยปกติจะเป็นภาษีเงินได้บุคคล ซึ่งจุดประสงค์ในเสียภาษีนี้ คือ เพื่อให้การสนับสนุนรัฐ รวมทั้งกิจการอื่น ๆ ของรัฐด้วย สำหรับลักษณะของการเสียภาษีอาจจะมาในรูปแบบของจำนวนเงินหรือไม่ใช่จำนวนเงินก็ได้
การเสียภาษีรายได้จากต่างประเทศ คืออะไร?
ภาษีรายได้จากต่างประเทศ คือ รายได้จากการทำงานในต่างประเทศ, การมีสินทรัพย์อยู่ต่างประเทศ หรือแม้แต่การนำเงินไปลงทุนในต่างประเทศ โดยผู้มีรายได้ดังกล่าวจำเป็นต้องเสียภาษีตามคำสั่งของกรมสรรพากร ป. 161/2566 มาตรา 41 วรรค 2 แห่งประมวลกฎหมายรัษฎากร ซึ่งจะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป
รายได้จากการต่างประเทศ เสียภาษีอย่างไร?
โดยปกติแล้ว กฎหมายภาษีของไทย (ประมวลรัษฎากร) ได้วางข้อกำหนดเกี่ยวกับการเก็บภาษีเงินได้ของบุคคลธรรมดาออกเป็น 2 หลักการ ได้แก่
1. หลักแหล่งเงินได้
บุคคลธรรมดาที่มีรายได้และอาศัยอยู่ในประเทศไทยต้องมีการเสียภาษีตามเงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนดไว้
2. หลักถิ่นที่อยู่
บุคคลธรรมดาที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยถึง 180 วัน ในปฏิทินเดียวกัน (ปีภาษี) และมีรายได้จากต่างประเทศเข้ามาในไทย
เช็ก! 3 เกณฑ์พิจารณาการเสียภาษีรายได้จากต่างประเทศ
สำหรับ 3 เกณฑ์พิจารณาการเสียภาษีรายได้จากต่างประเทศ มีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
- บุคคลทั่วไปที่มีรายได้จากต่างประเทศและอาศัยอยู่ในประเทศไทยครบ 180 วัน
- ผู้ที่นำรายได้จากต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทย
- ผู้ที่มีรายได้จากการทำกำไรส่วนบุคคล ไม่ว่าจะเป็น การขายสินทรัพย์ในต่างประเทศ, ได้รับเงินปันผล, ได้รับดอกเบี้ยในต่างประเทศ และได้รับค่าลิขสิทธิ์จากต่างประเทศ เป็นต้น
ใคร “ได้รับผลกระทบ” จากการเสียภาษีรายได้จากต่างประเทศ
ผู้ที่ได้รับผลกระทบส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่มีรายได้จากต่างประเทศที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยนานเกิน 180 วัน โดยได้รายได้จากช่องทางต่างประเทศ เช่น การซื้อขายหุ้นต่างประเทศผ่านตลาดหลักทรัพย์, การซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลต่าง ๆ การซื้อขายสินทรัพย์ผ่านผู้ให้บริการต่างประเทศ และการขายสินค้าออนไลน์ของต่างประเทศ เป็นต้น
ใคร “ไม่ได้รับผลกระทบ” จากการเสียภาษีรายได้จากต่างประเทศ
ผู้ที่ไม่ได้รับผลกระทบจากการเสียภาษีรายได้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
- ผู้ลงทุนผ่าน DR (Depositary Receipt) ที่มีการจดทะเบียนการซื้อขายที่ได้รับอนุญาตจากก.ล.ต. แล้วนำมาเสนอขายให้ผู้ลงทุนไทย
- ผู้ลงทุนผ่านกองทุนรวมต่างประเทศ โดยมีบริษัทจัดการกองทุนรวมที่จดทะเบียนในไทย
- ผู้มีรายได้จากต่างประเทศและอยู่ในประเทศไทยเกิน 30 วัน แต่มีการเสียภาษีภายในประเทศนั้น ๆ ไปแล้ว
รู้หรือไม่? ชาวต่างชาติที่มาใช้ชีวิตในประเทศไทย หากอยู่นานเกิน 180 วัน ก็ต้องเสียภาษีรายได้จากต่างประเทศเช่นกัน!
เทคนิค! วางแผนจัดการภาษีให้ได้รับสิทธิประโยชน์สูงสุด
สำหรับเทคนิคการวางแผนการจัดการภาษี เพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์สูงสุดนั้น สามารถทำได้ 3 ข้อปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
1. ตรวจสอบรายได้จากต่างประเทศ เพื่อนำเงินเข้าไทย
ขั้นตอนแรก คือ ตรวจสอบรายได้จากต่างประเทศ เพื่อนำเงินเข้าไทย โดยจำเป็นต้องตรวจสอบ รายได้ว่า ได้นำกลับเข้าไทยมาแล้วหรือไม่? หากยังควรดำเนินการก่อนที่ประกาศฉบับใหม่จะบังคับใช้ ในปี 2567
นอกจากนี้ ผู้มีเงินได้จำเป็นต้องขอหลักฐานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งต้องยื่นเงินได้พึงประเมิน เพื่อแสดงให้กรมสรรพากรเห็นรายได้ที่ใกล้เคียงกับความจริงมากที่สุด
2. วางแผนจัดการภาษี
ขั้นตอนถัดไป คือ การวางแผนจัดการภาษี โดยลดหย่อนการเสียภาษีที่เกินความจำเป็น หรือที่รู้จักกันกับคำว่า “ลดหย่อนภาษี” เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย อีกทั้งยังเป็นการบริหารเงินในอีกรูปแบบหนึ่งอีกด้วย
สินค้าที่ใช้ลดหย่อนภาษีมักเป็นรายการสินค้าที่รัฐให้การสนับสนุน ไม่ว่าจะเป็นโครงการช้อปดีมีคืน, ค่าลดหย่อนสำหรับคู่สมรส และค่าลดหย่อนในการเลี้ยงดูบิดามารดา เป็นต้น
3. การหาทางเลือกใหม่ในการลงทุนที่เพิ่มมากขึ้น
สำหรับนักลงทุนที่ต้องการลดหย่อนภาษีจากการมีรายได้ในต่างประเทศ เพื่อลดภาระและลดขั้นตอนในการยื่นเสียภาษีสามารถเลือกลงทุนในกองทุนรวมดัชนี (ETF) หรือ ตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศ DR และ DRX ได้ เพราะการลงทุนลักษณะดังกล่าว ได้รับการยกเว้นภาษีจากการถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 10% ของเงินปันผลแล้วนั่นเอง
ETF คืออะไร ? สุดยอดการรวมข้อดีของหุ้นและกองทุนเข้าด้วยกัน
เปรียบเทียบการเสียภาษีเงินได้ต่างประเทศแบบเดิม VS แบบใหม่
เสียภาษีเงินได้ต่างประเทศแบบเดิม | เสียภาษีเงินได้ต่างประเทศแบบใหม่ |
---|---|
– ผู้อยู่ในประเทศไทยครบ 180 วัน ในปีภาษีนั้น (ปีปฏิทิน 1 มกราคม – 31 ธันวาคม) | – ผู้อยู่ในประเทศไทยครบ 180 วัน ในปีภาษีนั้น (ปีปฏิทิน 1 มกราคม – 31 ธันวาคม) |
– ผู้มีรายได้จากต่างประเทศและนำเข้ามาในปีภาษีเดียวกัน | – ผู้มีรายได้จากต่างประเทศและนำเข้ามาในปีภาษีเดียวกันหรือไม่ก็ตาม |
– หากผู้เสียภาษีขาดคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่งไปจะได้รับการละเว้นในการเสียภาษีในไทย | – หากผู้เสียภาษีมีการนำรายได้จากต่างประเทศเข้ามาในไทยปีไหนก็ต้องคำนวณเงินได้พึงประเมิน เพื่อเสียภาษีในปีนั้น |
ปีปฏิทิน คือ ระยะเวลาในการคำนวณภาษีเงินบุคคล โดยเริ่มนับตั้งแต่ 1 มกราคม – 30 ธันวาคมของปี นั่นเอง!
คำถามที่เกี่ยวข้องกับการเสียภาษีรายได้จากต่างประเทศ
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คืออะไร?
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ แบบแสดงรายการภาษีเงินได้ของบุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.) โดยจะแบ่งออกเป็น 5 รูปแบบ ซึ่งแต่ละประเภทมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน สามารถติดตามข้อมูลได้ที่นี่
รายได้ที่ต้องเสียภาษี มีอะไรบ้าง?
รายได้เสียภาษีจะแบ่งออกเป็น 8 ประเภท ยกตัวอย่างเช่น รายได้จากการจ้างงาน, รายได้จากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ และรายได้จากค่าลิขสิทธิ์ เป็นต้น สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่
ผู้มีรายได้จากต่างประเทศต้องอยู่ไทยกี่วัน โดยไม่ต้องเสียภาษี?
ผู้ที่มีรายได้จากต่างประเทศต้องอยู่ไทยไม่เกิน 180 วัน
หากสั่งของจากต่างประเทศ ต้องเสียภาษี 2566 หรือไม่?
การสั่งของจากต่างประเทศแล้วไม่ต้องเสียภาษีปี 2566 จะแบ่งออกเป็น 2 กรณี ได้แก่
- สั่งของไม่เกินราคา 1,500 บาท
- สั่งของจากต่างประเทศผ่านบริการ Shipping
ชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ต้องเสียภาษีหรือไม่?
กรณีที่ชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยนานเกิน 180 วัน อีกทั้ง ยังมีรายได้จากการทำงานในประเทศไทยทุกประเภทกิจการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย หรือมีรายได้จากทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทยจะต้องเสียภาษี
สรุป
จากที่กล่าวไปข้างต้น เห็นได้ว่า กรมสรรพากรได้ประกาศการเสียภาษีรายได้จากต่างประเทศ โดยเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป ซึ่งการเสียภาษีดังกล่าว ส่งผลให้นักลงทุนหรือชาวต่างชาติที่มีรายได้จากต่างประเทศจำเป็นต้องติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด เพราะการประกาศครั้งนี้เป็น และในปัจจุบันยังไม่มีแนวทางปฏิบัติหรือหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนมากนั้น โดยนักลงทุนสามารถติดตามข่าวสารได้ที่กรมสรรพากร
ที่มา : iTax
อ่านบทความเพิ่มเติม: Knowledge
อ่านรีวิวโบรกเกอร์อื่น ๆ ได้ที่: Review Broker
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติม: News