ตามธรรมชาติของการลงทุนนั้นมีทั้งขึ้นและลง ทำให้นักลงทุนหลายคนต้องศึกษาตัวแปรหลาย ๆ ตัวในการวิเคราะห์ เพื่อประกอบการตัดสินใจในการลงทุน ไม่ว่าจะเป็นอัตราเงินเฟ้อ, ค่าเงิน, อัตราดอกเบี้ย และค่า GDP เป็นต้น แต่รู้หรือไม่ว่า มีอีกหนึ่งตัวช่วยที่สำคัญเป็นอย่างมากในการลงทุน นั่นก็คือ Yield นั่นเอง
ในวันนี้ทีมงาน Gotradehere จะพาทุกคนมารู้จักกับ Yield คืออะไร? เพื่อให้นักลงทุนมือใหม่ได้ทำความเข้าใจกับคำ ๆ นี้มากยิ่งขึ้น เพราะ Yield เปรียบเหมือนหัวใจสำคัญที่จะทำให้นักลงทุนสามารถได้อัตราผลตอบแทนที่เหมาะสมได้ครับ
Yield คืออะไร?
Yield คือ อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ ซึ่งจะมีชื่อเรียกที่แตกต่างในแต่ละประเภทสินทรัพย์ในการลงทุนครับ โดย Yield จะขึ้นอยู่กับความผันผวนของหลักทรัพย์ที่คุณลงทุน ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง และจุดเด่นของ Yield จะช่วยให้นักลงทุนสามารถคำนวณได้ว่า หากลงทุนด้วยเงินจำนวนหนึ่งไป จะได้ผลตอบแทนกลับมาในอัตราที่เท่าไหร่จึงจะเหมาะสม
หาก Yield สูงนั้น แสดงว่า คุณจะได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้นนั่นเอง
Yield จะมีชื่อเรียกผลตอบแทนของแต่ละสินทรัพย์แตกต่างกัน ดังต่อไปนี้
- หุ้น จะเรียกว่า ปันผล (Dividend Yield)
- ตราสารหนี้ จะเรียกว่า ดอกเบี้ย (Bond Yield)
- อสังหาริมทรัพย์ จะเรียกว่า ค่าเช่า (Rental Yield)
ค่า Yield คำนวณได้อย่างไร?
ค่า Yield สามารถคำนวณได้จาก “ผลตอบแทนที่ได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง / เงินลงทุนทั้งหมด * 100” โดยในแต่ละสินทรัพย์สามารถคำนวณได้แตกต่างกันไป ตามรายละเอียด ดังต่อไปนี้
1. ค่า Yield ของหุ้น
ค่า Yield ของหุ้น หรือ Dividend Yield คือ อัตราส่วนเงินปันผลตอบแทนของหุ้น โดยปกติแล้วเงินปันผลจะมีทั้งรูปแบบที่จ่ายเป็นเงินสดและจ่ายเป็นหุ้น ซึ่งจะขึ้นอยู่กับกำไรสะสมและนโยบายที่แตกต่างกันของแต่ละบริษัท ส่วนระยะเวลาในการจ่ายปันผลนั้นจะแบ่งออกเป็น 2 ช่วงเวลา ได้แก่ 1) ปันผลประจำปี และ 2) ปันผลระหว่างกาล โดย Dividend Yield มีสูตรคำนวณ ดังนี้
Dividend Yield = (DPS/P)*100
- DPS ย่อมาจาก Dividend per Shares คือ เงินปันผลต่อหุ้น
- P คือ ราคาหุ้น
หากบริษัทใดมี Dividend Yield สูง ก็หมายความว่า เป็นบริษัทขนาดใหญ่ที่ค่อนข้างอิ่มตัว เพราะผลตอบแทน Capital Gain อยู่ในอัตราที่ไม่เพิ่มขึ้น แสดงให้เห็นว่า เหมาะกับนักลงทุนที่ต้องการ Passive Income จากเงินปันผลทุกไตรมาส โดยที่ไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงสูง
ตัวอย่าง Dividend Yield
หุ้น YY จ่ายเงินปันผล 5 บาทต่อหุ้น ในขณะที่ราคาหุ้นอยู่ที่ 10 บาท สามารถคำนวณได้จาก (5/10)*100 = 50% ดังนั้น Dividend Yield คือ 50% นั่นเอง
*** คุณสามารถติดตามอัตราเงินปันผลตอบแทน เพื่อประกอบการพิจารณาก่อนการลงทุนได้ที่นี่ ***
2. ค่า Yield ของตราสารหนี้
ค่า Yield ของตราสารหนี้ หรือ Bond Yield เป็นอัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ โดยตราสารหนี้เป็นตราสารทางการเงินที่ผู้ถือมีสถานะเป็นเจ้าหนี้ ส่วนผู้ออกสารมีสถานะเป็นลูกหนี้ ซึ่งผู้ถือตราสารจะได้ “ดอกเบี้ย” เป็นผลตอบแทน เมื่อครบตามสัญญาที่กำหนดไว้ โดย Bond Yield มีสูตรคำนวณ ดังนี้
Bond Yield = (Coupon Payment/Face Value)*100
- Coupon Payment คือ ดอกเบี้ยที่ผู้ถือตราสารจะได้รับต่อปี (มาจากตัวเลขหนี้ที่ผู้ออกตราสารต้องจ่ายคืน * อัตราดอกเบี้ย)
- Face Value คือ ตัวเลขหนี้ที่ผู้ออกตราสารต้องจ่ายคืน เทียบได้กับเงินต้นที่ถูกยืม
หากราคาซื้อขายตราสารทางการเงินในตลาดรอง (Secondary Market) เพิ่มขึ้นจะส่งผลให้ Bond Yield ลดลง เนื่องจากผลตอบแทนของตราสารทางการเงินเท่าเดิม แต่ราคาซื้อขายในตลาดรองกลับเพิ่มขึ้น ซึ่งไม่ไปในทิศทางเดียวกันจะส่งผลให้นักลงทุนเทขายตราสารทางการเงินและเลือกไปลงทุนในสินทรัพย์ประเภทอื่นแทน
ตัวอย่าง Bond Yield
พันธบัตรรัฐบาล 5 ปี ครบกำหนดปี 2023 มี Face Value มูลค่า 500 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งให้ผลตอบแทน 20 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี สามารถคำนวณได้ว่า Bond Yield = (20/500)*100 คือ 4% ต่อปี
3. ค่า Yield ของอสังหาริมทรัพย์
Yield ของอสังหาริมทรัพย์ หรือ Rental Yield เป็นอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนในรูปแบบ “ค่าเช่า” ที่สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ได้แก่ อัตราผลตอบแทนจากการให้เช่าเบื้องต้น (Gross Rental Yield ), อัตราผลตอบแทนจากการให้เช่าเงินสดในรอบปี (Cash on Cash Rental Yield) และอัตราผลตอบแทนจากการให้เช่าสุทธิ (Net Rental Yield) โดย Gross Rental Yield มีสูตรคำนวณ ดังนี้
Gross Rental Yield = (Rental Income/ Property Value)*100
- Rental Income คือ ค่าเช่าที่คาดว่าจะได้ต่อปี
- Property Value คือ ราคาอสังหาริมทรัพย์
การคำนวณอัตราผลตอบแทนจากการให้เช่าเบื้องต้นจะช่วยให้นักลงทุนสามารถคำนวณได้ว่า ราคาอสังหาริมทรัพย์จะได้ผลตอบแทนที่เหมาะสมหรือไม่ โดยผลตอบแทนที่ดีนั้น นักลงทุนไม่จำเป็นต้องกู้ยืมเงินจากธนาคาร
ตัวอย่าง Gross Rental Yield
นาย B ซื้อบ้านมาในราคา 5,000,000 บาท ต่อมานาย B ปล่อยเช่าบ้านในราคาเดือนละ 20,000 บาท ดังนั้น สามารถคำนวณได้ว่า Gross Rental Yield ที่นาย B จะได้รับ คือ (20,000*12/5,000,000)*100 = 4.8%
ประเภทของ Yield มีอะไรบ้าง
Yield สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. อัตราผลตอบแทนปัจจุบัน (Current Yield)
อัตราผลตอบแทนปัจจุบัน (Current Yield) คือ ผลตอบแทนที่ได้รับจากดอกเบี้ยต่อปี โดยผลตอบแทนปัจจุบันจะไม่ใช่ผลตอบแทนที่แท้จริง เพราะไม่ได้คำนึงไปถึงเรื่องราคาซื้อและราคาขาย
2. อัตราผลตอบแทนถึงวันครบกำหนด (Yield to Maturity)
อัตราผลตอบแทนถึงวันครบกำหนด (Yield to Maturity) คือ ผลตอบแทนที่จะได้รับ เมื่อสินทรัพย์ครบกำหนดตามสัญญา โดยอัตราผลตอบแทนลักษณะนี้ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในตลาด เพราะคำนวณจากดอกเบี้ยที่คาดว่าจะได้รับในอนาคตและเงินต้นตามราคาหน้าตั๋ว มาคำนวณหามูลค่าในปัจจุบัน
ประโยชน์ของ Yield
ประโยชน์ของ Yield สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ข้อ ดังนี้
- สามารถคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยในอนาคตได้
- สามารถเปรียบเทียบ Yield ของแต่ละสินทรัพย์ เพื่อหาการลงทุนที่เหมาะต่อพอร์ตของเราได้
- สามารถคาดการณ์แนวโน้มของเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นได้
ควรมีค่า Yield เท่าใดจึงจะเหมาะสม?
นักลงทุนควรเลือก Yield ที่ให้เปอร์เซ็นต์สูง เพราะจะทำให้คุณมีโอกาสได้ผลตอบแทนสูงขึ้นตามไปด้วย และมีความเสี่ยงที่ลดลง อย่างไรก็ตาม สินทรัพย์บางประเภทอาจมี Yield เปอร์เซ็นต์สูง แต่ผลตอบแทนไม่ได้สูงตามไปด้วย ดังนั้นแล้ว นักลงทุนควรเลือกการลงทุนที่มีเปอร์เซ็นต์สูงกว่าอัตราดอกเบี้ย
ยกตัวอย่างเช่น การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ควรมี Rental Yield ประมาณ 6%-8% ต่อปี และควรมากกว่าอัตราดอกเบี้ยของธนาคารประมาณ 2% จึงจะถือว่าคุ้มค่ากับการลงทุน
คุณกำลังมองหาบทความที่น่าสนใจอยู่หรือเปล่า?
Market Cap คืออะไร? ดูได้จากตรงไหน และทำไมนักลงทุนจึงควรรู้ไว้!
ตัวเลข CPI คืออะไร? ดัชนีราคาผู้บริโภค “ข่าวแรง” ที่ต้องระวัง!
สรุป Yield คืออะไร?
จากที่กล่าวมา สรุปได้ว่า Yield คือ อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ ที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะ Yield จะช่วยให้นักลงทุนมือใหม่และผู้มีประสบการณ์สามารถวิเคราะห์ได้ว่า สินทรัพย์ที่คุณสนใจนั้น คุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่
อย่างไรก็ตาม Yield เป็นเพียงหนึ่งในตัวช่วยในการประกอบการตัดสินใจเท่านั้น ซึ่งคุณต้องศึกษาปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนควบคู่ไปด้วย เพื่อให้ผลตอบแทนของคุณมีความยั่งยืนให้ได้มากที่สุดในภายภาคหน้าครับ
อ่านบทความเพิ่มเติม: Knowledge
อ่านรีวิวโบรกเกอร์อื่น ๆ ได้ที่: Review Broker
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติม: News